กฎหมาย
ความหมายของกฎหมาย
กฎหมาย หมายถึง คำสิ่งหรือข้อบังคับของรัฐ ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมความประพฤติของบุคคลซึ่งอยู่ในรัฐหรือในประเทศของตน หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ประพฤติปฏิบัติตาม ก็จะมีความผิดและถูกลงโทษ หรือได้รับผลเสียหายนั้นด้วย
ความสำคัญ
การปกครองประเทศให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยสงบสุขนั้น รัฐจำเป็นจะต้องออกคำสั่ง ข้อบังคับต่าง ๆ มากมาย คำสั่ง ข้อบังคับเหล่านั้นมิได้เป็นกฎหมายทุกฉบับ คำสั่ง ข้อบังคับของรัฐที่จะถือว่าเป็นกฎหมายได้นั้น ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
1.มาจากรัฏฐาธิปัตย์ หมายความว่า ผู้ที่จะออกกฎหมายได้นั้นต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในประเทศ ซึ่งจะเป็นใครนั้นต้องแล้วแต่สถานการณ์หรือรูปแบบการปกครองประเทศไทยสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครอง และการออกกฎหมายแต่เพียงผู้เดียว ปัจจุบันเราใช้การปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รัฐธรรมนูญบัญญัติให้อำนาจอธิปไตยซึ่งเห็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของปวงชนชาวไทย และบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นอำนาจในการออกกฎหมายโดยความเห็นชอบของรัฐสภา ในสถานการณ์ที่มีการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองประเทศ หัวหน้าคณะปฏิวัติก็มีอำนาจออกกฎหมายได้เพราะเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในขณะนั้น จะเห็นได้ว่าทุกวันนี้ยังมีประกาศคณะปฏิวัติหลายฉบับที่ยังบังคับใช้เป็นกฎหมายอยู่
2. เป็นคำสั่ง ข้อห้าม ข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม หมายความว่า กฎหมายไม่ใช่คำขอร้อง หรือแถลงการณ์ เมื่อประกาศใช้แล้วประชาชนทุกคนต้องปฏิบัติตาม ถึงแม้ว่าจะขัดต่อผลประโยชน์หรือไม่เห็นด้วย ก็ต้องยอมรับจะปฏิเสธไม่ได้ เช่น กฎหมายบังคับให้เสียภาษี บังคับให้ต้องรับราชการทหาร เป็นต้น
3. ใช้ได้ทั่วไป หมายความว่า กฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้ว จะมีผลใช้บังคับได้กับประชาชนทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้ชาย ผู้หญิง คนรวย คนจน ข้าราชการ แม้แต่พระมหากษัตริย์หรือเชื้อพระราชวงศ์ก็ตาม และใช้ได้ทั่วไปทุกพื้นที่ในอาณาเขตประเทศไทย
4. ใช้ได้เสมอไป หมายความว่า กฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้ว จะมีผลใช้บังคับได้ตลอดไป ไม่ว่าจะเก่าแก่ ล้าสมัย หรือนานเท่าใดก็ตาม จนกว่าจะมีการยกเลิก
5. มีสภาพบังคับ หมายความว่า กฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้ว ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกลงโทษ หรือตกอยู่ในสภาพบังคับอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ อาจจะหนักบ้าง เบาบ้างแล้วแต่ความผิดในกฎหมายอาญา สภาพบังคับเรียกว่าโทษ มีอยู่ 5 ประการ คือประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์ ในกฎหมายแพ่ง สภาพบังคับขึ้นอยู่กับการกระทำความผิด เช่น บังคับให้ชำระหนี้ ชดใช้ค่าเสียหาย หรือเสียดอกเบี้ย เป็นต้น นอกจากนี้ในกฎหมายอื่น ๆ ก็อาจมีสภาพบังคับอื่น ๆ อีกก็ได้ เช่น ข้าราชการที่ทำผิดวินัย อาจถูกตัดเงินเดือน สั่งพักราชการ ให้ออกปลดออกหรือไล่ออก เป็นต้น
ที่มาคำว่า”ที่มาของกฎหมาย”
นักกฎหมายหลายท่านให้ความหมายไว้แตกต่างกัน บางทานหมายถึงแหล่งที่มาหรือบ่อเกิดของกฎหมาย บางท่านหมายความถึงแหล่งที่จะค้นพบกฎหมาย หรือบางท่านอาจหมายความถึงศาลหรือผู้ที่จะนำกฎหมายไปปรับใช้กับคดีที่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่านักกฎหมายจะมีความเห็นแตกต่างกันออกไป แต่ที่มาของกฎหมายโดยทั่วไปแล้วมีความใกล้เคียงกัน โดยพิจารณาถึงที่มาของกฎหมายหลักสองระบบคือ ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร และระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
ที่มาของระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร
1. กฎหมายลายลักษณ์อักษร ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร เป็นระบบที่สืบทอดมาจากกฎหมายโรมัน ซึ่งให้ความสำคัญกับตัวบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้โดยถูกต้องตามกระบวนการบัญญัติกฎหมาย ดังนั้นที่มาประการสำคัญของระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ก็คือกฎหมายที่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งอาจมีหลายลักษณะด้วยกัน เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เป็นต้น
2. จารีตประเพณี ในบางครั้งการบัญญัติกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร จะให้ครอบคลุมทุกเรื่องเป็นไปได้ยาก จึงต้องมีการนำเอาจารีตประเพณี มาบัญญัติใช้เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรด้วย เช่น การชกมวยบนเวที ถ้าเป็นไปอย่างถูกต้องตามกติกา ถึงแม้ว่าคู่ต่อสู้จะบาดเจ็บหรือเสียชีวิตก็ไม่มีความผิด หรือแพทย์ที่ตัดแขนตัดขาคนไข้โดยที่คนไข้ยินยอมก็ไม่มีความผิด เป็นต้น เท่าที่ผ่านมายังไม่มีการฟ้องร้องคดีเรื่องเหล่านี้เลย ซึ่งคงจะเป็นเพราะจารีตประเพณีที่รู้กันโดยทั่วไปว่าเป็นเสมือนกฎหมาย
3. หลักกฎหมายทั่วไป ในบางครั้งถึงแม้จะมีกฎหมายลายลักษณ์อักษร และกฎหมายจารีตประเพณี มาใช้พิจารณาตัดสินความแล้วก็ตาม แต่ก็อาจไม่เพียงพอครอบคลุมได้ทุกเรื่อง จึงต้องมีการนำเอาหลักกฎหมายทั่วไป ซึ่งประเทศอื่น ๆ ที่มีความก้าวหน้าทางกฎหมาย ได้ยอมรับกฎหมายนั้นแล้ว มาปรับใช้ในการพิจารณาตัดสินคดีความด้วย เช่น หลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิ์ดีกว่าผู้รับโอน โจทย์พิสูจน์ไม่ได้ต้องปล่อยตัวจำเลย คดีอย่างเดียวกันต้องพิพากษาตัดสินเหมือนกัน ฯลฯ เป็นต้น
ที่มาของกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
1.จารีตประเพณีถือว่าเป็นที่มาประการสำคัญของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เนื่องจากกฎหมายระบบนี้เกิดจากการนำเอาจารีตประเพณี ซึ่งคนในสังคมยอมรับและปฏิบัติสืบต่อกันมานาน มาใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความ
2.คำพิพากษาของศาลจารีตประเพณีใดที่ถูกนำมาใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความแล้ว ก็จะกลายเป็นคำพิพากษาของศาล ซึ่งคำพิพากษาบางเรื่องอาจถูกนำไปใช้เป็นหลัก หรือเป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาตัดสินคดีความต่อ ๆ ไป คำพิพากษาของศาลจึงเป็นที่มาอีกประการหนึ่งของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
3.กฎหมายลายลักษณ์อักษร ในสมัยต่อ ๆ มาบ้านเมืองเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว การที่จะรอให้จารีตประเพณีเกิดขึ้นย่อมไม่ทันกาลบางครั้งจึงจำเป็นต้องสร้างกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นมาใช้ด้วย
4.ความเห็นของนักนิติศาสตร์ ระบบกฎหายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ยังยอมรับความเห็นของนักนิติศาสตร์มาใช้เป็นหลักในการตัดสินคดีความด้วย เพราะนักนิติศาสตร์เป็นผู้ที่ศึกษากฎหมายอยู่เสมอ เป็นผู้ที่มีความรู้ ความคิด มีเหตุผล ความเห็นของนักนิติศาสตร์ที่มีชื่อเสสียงและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ย่อมมีน้ำหนักพอที่จะนำไปใช้อ้างอิงในการพิจารณาตัดสินความได้
5.หลักความยุติธรรมหรือมโนธรรมของผู้พิพากษา ในระยะหลังที่บ้านเมืองเจริญขึ้นสภาพสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ก็เปลี่ยนแปลงไป การใช้จารีตประเพณีและคำพิพากษาก่อน ๆ มาเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความอาจไม่ยุติธรรม จึงเกิดศาลระบบใหม่ขึ้น ซึ่งศาลระบบนี้จะไม่ผูกมัดกับจารีตประเพณีหรือคำพิพากษาของศาลเดิม แต่จะยึดหลักความยุติธรรมและให้ความเป็นธรรมแก่คู่กรณีซึ่งเรียกว่ามโนธรรมของผู้พิพากษา(Squity) ซึ่งต่อมาได้รับการยอมรับเป็นส่วนหนึ่งของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
ประเภทของกฎหมาย
การแบ่งประเภทของกฎหมาย อาจแบ่งได้หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับผู้แบ่งว่าจะใช้อะไรเป็นหลัก แต่โดยทั่วไปแล้วเราจะแบ่งอย่างคร่าว ๆ ก่อนโดยแบ่งกฎหมายออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ กฎหมายภายใน ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้โดยองค์กรที่มีอำนาจภายในรัฐหรือประเทศ และกฎหมายภายนอก ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นจากสนธิสัญญา หรือข้อตกลงระหว่างประเทศกฎหมายภายใน และกฎหมายภายนอก ยังอาจแบ่งย่อยได้อีกหลายลักษณะ ตามหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ดังนี้
กฎหมายภายใน แบ่งได้หลายลักษณะตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. ใช้เนื้อหาของกฎหมายเป็นหลักเกณฑ์การแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.1 กฎหมายลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่บัญญัติขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร โดยองค์กรที่มีอำนาจตามกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติต่าง ๆ ฯลฯ เป็นต้น
1.2 กฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารีตประเพณีต่าง ๆ ที่นำมาเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความ ดังได้กล่าวมาแล้วในเรื่องที่มาของกฎหมาย ซึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยก็มีบทบัญญัติไว้ในมาตรา 4 วรรค 2 ว่า “เมื่อไม่มีบทกฎหมายใดที่จะยกมาปรับแก้คดีได้ ท่านให้วินิจฉัยคดีนั้นตามคลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น”
2. ใช้สภาพบังคับกฎหมายเป็นหลักในการแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา ได้แก่ กฎหมายต่าง ๆ ที่มีโทษตามบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา เช่น ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัติรับราชการทหาร ฯลฯ เป็นต้น
2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง สภาพบังคับทางแพ่งมิได้มีบัญญัติไว้ชัดเจนเหมือนสภาพบังคับทางอาญา แต่ก็อาจสังเกตได้จากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การบังคับชำระหนี้ การชดใช้ค่าเสียหาย หรืออาจสังเกตได้อย่างง่าย ๆ คือ กฎหมายใดที่ไม่มีบทบัญญัติกำหนดโทษทางอาญา ก็ย่อมเป็นกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
3. ใช้บทบาทของกฎหมายเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
3.1 กฎหมายสารบัญญัติ ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวถึงการกระทำต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของความผิดโดยทั่วไปแล้วกฎหมายส่วนใหญ่ จะเป็นกฎหมายสารบัญญัติ
3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวถึงวิธีการที่จะนำกฎหมายสารบัญญัติไปใช้ว่าเมื่อมีการทำผิดบทบัญญัติกฎหมาย จะฟ้องร้องอย่างไร จะพิจารณาตัดสินอย่างไร พูดให้เข้าใจง่าย ๆ กฎหมายวิธีสบัญญัติก็คือ กฎหมายที่กล่าวถึงวิธีการเอาตัวผู้กระทำผิดไปรับสภาพบังคับนั่นเอง เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความในศาลแขวง กฎหมายวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว เป็นต้น
4. ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
4.1 กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนด้วยกัน โดยที่รัฐไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด เป็นต้น
4.2 กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน ในฐานะที่รัฐเป็นผู้ปกครอง จึงต้องมีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสงบสุข เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พระราชบัญญัติป้องกัน การค้ากำไรเกินควร หรือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความต่าง ๆ เป็นต้น
กฎหมายภายนอกก
ฎหมายภายนอก หรือกฎหมายระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง ได้แก่ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐที่จะปฏิบัติต่อกันเมื่อมีความขัดแย้งหรือเกิดข้อพิพาทขึ้น เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ หรือได้แก่ สนธิสัญญา หรือเกิดจากข้อตกลงทั่วไป ระหว่างรัฐหนึ่งกับรัฐหนึ่งหรือหลายรัฐที่เป็นคู่ประเทศภาคีซึ่งให้สัตยาบันร่วมกันแล้วก็ใช้บังคับได้เช่น สนธิสัญญาไปรษณีย์สากล เป็นต้น
2.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ได้แก่ บทบัญญัติที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลรัฐหนึ่งกับอีกรัฐหนึ่งเมื่อเกิดความขัดแย้งข้อพิพาทขึ้นจะมีหลักเกณฑ์วิธีการพิจารณาตัดสินคดีความอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกัน เช่น ประเทศไทยเรามี พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกับแห่งกฎหมาย ซึ่งใช้บังคับกับบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยกับบุคคลที่อยู่ในประเทศอื่น ๆ
3.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา ได้แก่ สนธิสัญญา หรือข้อตกลงเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญาซึ่งประเทศหนึ่งยินยอมหรือรับรองให้ศาลของอีกประเทศหนึ่งมีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีและลงโทษบุคคลประเทศของตนที่ไปกระทำความผิดในประเทศนั้นได้ เช่นคนไทยไปเที่ยวสหรัฐอเมริกาแล้วกระทำความผิด ศาลสหรัฐอเมริกาก็พิจารณาตัดสินลงโทษได้หรือบุคคลประเทศหนึ่งกระทำความผิดแล้วหนีไปอีกประเทศหนึ่ง เป็นการยากลำบากที่จะนำตัวมาลงโทษได้ จึงมีการทำสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนเพื่อให้ประเทศที่ผู้กระทำความผิดหนีเข้าไปจับตัวส่งกลับมาลงโทษ ซึ่งถือว่าเป็นการร่วมมือกันปราบปรามอาชญากรรม ปัจจุบันนี้ประเทศไทยทำสนธิสัญญาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนกลับ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม และอิตาลี ฯลฯ เป็นต้น
วิวัฒนาการของกฎหมายไทยการศึกษาวิวัฒนการของกฎหมายก็เพื่อให้ทราบความเป็นมาของกฎหมายในแต่ละยุคสมัยและอาจกล่าวได้ว่า ช่วงก่อนที่พ่อขุนรามคำแหงคิดลายสือไทยขึ้นมานั้น ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครองสมัยนั้นขึ้น อยู่กับศาสนาและวัฒนธรรมที่ถือปฏิบัติกันในสมัยนั้น จนกระทั่งประมาณ พ.ศ.1826 พ่อขุนรามคำแหงได้คิดลายสือไทยขึ้น โดยนำอักษรขอมมาดัดแปลงและเริ่มบันทึกกฎหมายต่างๆ ไว้ตั้งแต่ในสมัยนั้น
1. กฎหมายสมัยก่อนกรุงรัตนโกสินทร์
1.1 กฎหมายสมัยสุโขทัย ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงนั้น ได้มีนักนิติศาสตร์หลายท่านกล่าวไว้ว่าการจะลงความเห็นว่าเป็นกฎหมายหรือไม่นั้น คงต้องแล้วแต่ว่าจะใช้หลักเกณฑ์ใดเป็นสิ่ง พิจารณาว่าศิลาจารึกนี้เป็นกฎหมาย แต่มีข้อสังเกตุหลายประการในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งได้จารึกเรื่องราวต่างๆ เช่น การเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ หรือการทูล เกล้าถวายฎีกา การงดเก็บภาษี เสรีภาพการค้าขาย หรือ มรดก เป็นต้น อันเป็นสิ่งที่ได้ปฎิบัติต่อกันมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าพระเจ้าแผ่นดินจึงเป็นผู้ ปัดเป่าความทุกข์ร้อนให้กับประชาชนดังข้อความในศิลาจารึกที่ว่า"ในปากประตูมีกระดิ่งอันแขวนไว้นั้น ไพร่พ้าหน้าปกกลางบ้านกลางเมืองมีถ้อยมีความเจ็บข้องใจมักจะกล่าวเถิงเจ้าขุนบ่ไร้ ไปสั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนราม คำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียก เมื่อถามสวนความแก่มันด้วยชื่อไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึงชม"
1.2 กฎหมายสมัยอยุธยา ในสมัยอยุธยานั้นได้รับคัมภีร์พระธรรมศาสตร์มาจากมอญ โดยถือว่าพระธรรมศาสตร์เป็นเสมือนประกาสิตจากสรวงสวรรค์จึงเป็นสิ่งที่ศักดิ์สิทธ์ ที่นำมาใช้ เป็นบรรทัดฐานในการปกครองพลเมืองในสมัยนั้น โดยในสมัยนั้นได้เปลี่ยนการปกครองในลักษณะพ่อปกครองลูกมาเป็นการปกครองโดยพระเจ้าแผ่นดินเป็นผู้มีอำนาจ สูงสุด ดังนั้นพระเจ้าแผ่นดินจึงเป็นผู้วินิจฉัยเรื่องราวต่างๆ และพระบรมราชวินิจฉัยในอรรถคดีของพระเจ้าแผ่นดินนั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบกฎหมายโบราณ ซึ่งเรียกว่า พระราชศาตร์ นอกจากนั้นยังมีกฎหมายที่พระเจ้าแผ่นดินในสมัยนั้นได้ตราขึ้นอีกมากมายเป็นต้นว่า กฎหมายลักษณะพยาน กฎหมายลักษณะอาญาหลวง กฎหมายลักษณะผัวเมีย เป็นต้น กฎหมายเหล่านี้รวมเรียกว่า พระราชกำหนดบทพระอัยการหรือ พระราชกำหนดกฎหมาย
2. กฎหมายสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์กฎหมายในสมัยช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์นั้น เป็นกฎหมายพยายามรวบรวมมาจากกฎหมายเก่า ซึ่งกฎหมายส่วนใหญ่จะเป็นกฎหมายสมัยอยุธยา ดังนั้นการรวบ รวมจึงเกิดความคลาดเคลื่อน หรืออาจมีการนำมาต่อเติมใหม่ และทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมเกิดขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเหตุให้มีการตรวจชำระกฎหมายในสมัยราชการที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2347 และเมื่อได้มีการตรวจชำระกฎหมายเรียบร้อยแล้ว ก็มีการประทับตราขึ้นเป็นประกันความถูกต้องป้องกันการปลอมแปลง กฎหมายดังกล่าวจึงได้ชื่อว่า "กฎหมายตราสามดวง" อันประกอบไปด้วย ตราราชสีห์ ตราคชสีห์ ตราบัวแก้ว นอกจากนั้นกฎหมายตราสามดวงนี้ ได้ประกอบด้วยพระธรรมศาสตร์และพระราชศาตร์ด้วย และมีกฎหมายอื่นๆ อีกในยุคสมัยนั้น เช่น พระราชบัญญัติบ่อนเบี้ยเปลี่ยนแปลงแก้ไขกฎหมายให้เกิดความยุติธรรมมากขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยยึดถือความยุติธรรม มากกว่าข้อบัญญัติแห่งพระธรรมศาตร์ จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายต่างๆ ให้สมบูรณ์และเป็นไปในเชิงนิติศาตร์มากขึ้น
3. กฎหมายสมัยเมื่อใช้ระบบประมวลกฎหมายวิวัฒนาการของกฎหมายอาจกล่าวได้ว่าเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจังในรัชกาลที่ 5 ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นความสำคัญด้านกฎหมายเป็นอย่างมาก และ เพื่อให้ระบบศาลไทยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในสมัยนั้นก็ได้มีการก่อตั้งโรงเรียนสอนกฎหมายขึ้น ตามคำกราบบังคมทูลของกรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์สำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษซึ่งใช้กฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อัการก็ตาม แต่กฎหมายของประเทศไทยเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ก็น่าจะเนื่องมาจากกฎหมายลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่มีการรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ ชัดเจน จึงเหมาะสมกับประเทศไทยที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาประเทศ จำต้องอาศัยความแน่นอน ชัดเจนประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งก็น่าจะเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของประเทศในยุโรปซึ่งใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษรเช่นเดียวกันสำหรับกฎหมายฉบับแรกที่ได้มีการประกาศใช้เป็นประมวลกฎหมายก็คือ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 โดยประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2451 และได้แก้ไข เปลี่ยนแปลงเรื่อยมาจนปัจจุบันนี้ ซึ่งก็คือประมวลกฎหมายอาญา ฉบับปัจจุบันนี้ส่วนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นก็เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยราชกาลที่ 6 และมีการแก้เปลี่ยนแปลงเรื่อยมาและใช้มาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ นอกจากนั้นยังมีประมวลกฎหมาย อื่นๆอีก เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เป็นต้นวิวัฒนาการของกฎหมายไทยสมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา กฎหมายไทยได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ของฮินดู ซึ่งเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการแกครองแต่เพียงผู้เดียว ต้องปกครองบ้านเมืองไพร่ฟ้าประชาชนด้วยความเป็นธรรม ยุติธรรม และมีเมตตาธรรม และพระราชศาสตร์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์สร้างขึ้นจากการวินิจฉัยอรรถคดีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและสะสมต่อ ๆ กันมา โดยยึดหลักว่า จะต้องสอดคล้องกับคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ด้วย นอกจากนี้ยังมีกฎหมายอื่น ๆ ที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นเอง โดยเฉพาะสมัยกรุงศรีอยุธยามีเป็นจำนวนมากตามความต้องการและความจำเป็นในแต่ละยุคแต่ละสมัย เช่น กฎหมายลักษณะอาญาหลวง กฎหมายลักษณะพยาน กฎหมายลักษณะโจร กฎหมายลักษณะผัวเมีย ฯลฯ เป็นต้นสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดให้มีการรวบรวมและตรวจชำระกฎหมายครั้งใหญ่ ฎหมายเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นกฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่กระจัดกระจาย ชำรุด หรือสูญหาย เมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 โดยนำมารวบรวมจัดเป็นหมวดหมู่ แก้ไขความคลาดเคลื่อน ความไม่ยุติธรรมที่ตรวจพบ และเพิ่มเติมในบางส่วนที่ขาดหายไปขึ้นมาใหม่ เรียกว่า กฎหมายตราสามดวงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องจากปัญหาการบังคับใช้สิทธิสภาพนอกอาณาเขต ของชาติตะวันตก ซึ่งจะต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็ว ทรงโปรดให้มีการปฏิรูปการศาลยุติธรรมและระบบกฎหมายครั้งใหญ่ โดยจัดระเบียบการศาลยุติธรรมใหม่ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ทรงตั้งโรงเรียนกฎหมายตามคำกราบบังคมทูลของกรมหลวงราชบุรดิเรกฤทธิ์ ซึ่งทรงเป็นครูสอนกฎหมายเองด้วย และทรงแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจชำระและร่างกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2440 ซึ่งประกอบด้วยนักกฏหมายไทยและต่างประเทศ คณะกรรมการชุดนี้ได้ทำการร่างและประกาศใช้ ประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 ซึ่งถือว่าเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทย ต่อมามีการปรับปรุงอีก 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2486 และ 2499 เรียกว่า ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน ในสมัยต่อ ๆ มาก็ได้มีการร่างและประกาศใช้ประมวลกฎหมายอื่น ๆ อีกหลายฉบับ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายวิถีพิจารณาความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ฯลฯ เป็นต้นการปฏิรูปกฎหมายศาลยุติธรรมและการประกาศใช้ประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 ทำให้ประเทศไทยหมดยุคกฎหมายเก่า และเข้าสู่ยุคขบวนกฎหมายตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาการบังคับใช้กฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วางหลักว่า การนำกฎหมายมาปรับแก่ข้อเท็จจริงในคดี จะต้องนำเอาตัวบทกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรประกอบกับเจตนารมย์ของกฎหมายมาปรับใช้ก่อนหากไม่สามารถนำมาปรับใช้แก่ข้อเท็จจริงในคดีได้ให้เอาบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง (Analogy) มาปรับใช้หากยังไม่มีอีก ให้เอกหลักกฎหมายทั่วไปมาใช้หากไม่มีอีกในมาตรา 4 ไม่ได้พูดถึง แต่ด้วยเหตุผลที่ว่าศาลไม่อาจปฏิเสธคดีเพราะไม่กฎหมายไม่ได้ จึงต้องใช้หลักความยุติธรรมและหลักเหตุผลในการตัดสินการยกเลิกกฎหมายการยกเลิกกฎหมาย คือ การทำให้กฎหมายสิ้นสุดการบังคับใช้ ซึ่งกระทำได้ทั่งการยกเลิกโดยตรงและโดยปริยาย
1.การยกเลิกกฎหมายโดยตรง เป็นกรณีที่ที่มีกฎหมายระบุให้ยกเลิกไว้อย่างชัดแจ้งมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1.1. กฎหมายนั้นกำหนดวันยกเลิกเอาไว้เอง เช่น บัญญัติเอาไว้ว่า “พระราชบัญญัติฉบับนี้ให้ใช้ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปเป็นเวลาหนึ่งปี” เมื่อครบกำหนด 1ปี กฎหมายนั้นก็สิ้นสุดการบังคับใช้ไปเอง
1.2. ออกกฎหมายใหม่มายกเลิก โดยกฎหมายฉบับใหม่ที่ออกมานั้นเป็นกฎหมายเรื่องเดียวกัน และมีบทบัญญัติระบุให้ยกเลิก เช่น มาตรา3 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522
1.3. เมื่อรัฐสภาไม่อนุมัติพระราชกำหนด พระราชกำหนดเมื่อประกาศใช้แล้ว จะต้องให้รัฐสภาพิจารณาอนุมัติอีกครั้งหนึ่ง ถ้ารัฐสภามีมติไม่อนุมัติ พระราชกำหนดนั้นก็จะสิ้นสุดการบังคับใช้
2.การยกเลิกกฎหมายโดยปริยาย
2.1. เมื่อกฎหมายใหม่และกฎหมายเก่ามีบทบัญญัติกรณีหนึ่งเป็นอย่างเดียวกัน ให้ใช้กฎหมายใหม่ ถือว่ากฎหมายเก่าถูกยกเลิกไปโดยปริยาย
2.2. เมื่อกฎหมายใหม่มีข้อความขัดแย้งกับกฎหมายเก่า ต้องใช้กฎหมายใหม่ และให้ถือว่าข้อความที่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายใหม่นั้นถูกยกเลิกไปโดยปริยาย
2.3. กฎหมายแม่บทยกเลิกกฎหมายบริวารถูกยกเลิกด้วย กฎหมายบริวารหรือกฎหมายลูกที่ออกมาใช้โดยอาศัยกฎหมายแม่บท เมื่อกฎหมายแม่บทถูกยกเลิก ถือว่ากฎหมายบริวารถูกยกเลิกไปโดยปริยาย
ทำแบบทดสอบ คลิกที่นี่
วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น