วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

ระบบการบริหารราชการแผ่นดินประเทศทุกประเทศจะต้องจัดการเรื่องระเบียบการปกครอง การบริหารงานระหว่างรัฐกับประชาชน เพื่อให้เกิดความสงบสุขและความสะดวกให้แก่ประชาชน รัฐจึงออกกฎหมายการปกครองออกมาใช้บังคับประชาชนความหมายของกฎหมายการปกครองในที่นี้ หมายถึง กฎหมายที่วางระเบียบการบริหารภายในประเทศ โดยวิธีการแบ่งอำนาจการบริหารงานตั้งแต่สูงสุดลงมาจนถึงระดับต่ำสุด เป็นการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของราชการผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหาร

โดยหลักทั่วไปทางวิชาการกฎหมายการปกครอง ได้จัดระเบียบการปกครองประเทศหรือที่เรียกว่า จัดระเบียบราชการบริหาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization) หมายถึง การจัดระเบียบการปกครอง โดยรวมอำนาจการปกครองทั้งหมดไว้ที่ส่วนกลาง พนักงานเจ้าหน้าที่ในส่วนกลางและต่างจังหวัดไดรับการแต่งตั้งถอดถอนและบังคับบัญชาจากส่วนกลางเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่ส่วนกลางกำหนดขึ้น เช่น การปกครองที่แบ่งส่วนราชการออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด เป็นต้น

การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization) หมายถึง การจัดระเบียบการ ปกครองโดยวิธีการยกฐานะท้องถิ่นหนึ่งขึ้นเป็นนิติบุคคลแล้วให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการปกครองตนเองอย่างอิสระโดยการบริหารส่วนกลางจะไม่เข้ามาบังคับบัญชาใด ๆ นอกจากคอยดูแลให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ภายในขอบเขตของกฎหมายจัดตั้งท้องถิ่นเท่านั้น เช่น การปกครองของเทศบาลในจังหวัดต่าง ๆ เทศบาลกรุงเทพมหานคร หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น

กฎหมายการปกครองที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย ได้ใช้รูปแบบการปกครอง ทั้งประเภทที่กล่าวมาแล้ว คือ ใช้ทั้งแบบรวมอำนาจและกระจายอำนาจ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการปฎิบัติงานของราชการ ให้มีสมรรถภาพ การกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆให้ชัดเจน เพื่อมิให้มีการปฎบัติงานที่ซ้ำซ้อนระหว่างส่วนราชการต่างๆและเพื่อให้การบริหารในระดับต่างๆมีเอกภาพสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาลกำหนดได้ดี

ดังนั้น รัฐบาลจึงออกกฎหมายการปกครองขึ้นมา คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และฉบับที่ 5 พ.ศ.2545และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พอสรุปดังนี้

ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน คือ กติกาที่ยอมรับเป็นบรรทัดฐาน เพื่อให้การบริหารราชการมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีที่มาจากแหล่งต่าง ๆ อันได้แก่ ขนบธรรม-เนียมการปกครอง รัฐธรรมนูญและความจำเป็นในการบริหารงานเพื่อแก้ไขสถานการณ์การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

การบริหารราชการส่วนกลางการบริหารราชการส่วนกลางหมายถึง หน่วยราชการจัดดำเนินการและบริหารโดยราชการของ ส่วนกลางที่มีอำนาจในการบริหารเพื่อสนองความต้องการของประชาชน จะมีลักษณะการปกครองแบบรวมอำนาจ หรือมีความหมายว่า เป็นการรวมอำนาจในการสั่งการ การกำหนดนโยบายการวางแผน การควบคุมตรวจสอบ และการบริหารราชการสำคัญ ๆ ไว้ที่นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีและกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ตามหลักการรวมอำนาจ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง จัดแบ่งออกได้ดังนี้

สำนักนายกรัฐมนตรีกระทรวง หรือทบวงที่มีฐานะเทียบเท่า กระทรวงทบวง สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงกรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวงการจัดตั้ง ยุบ ยกเลิก หน่วยงาน ตามข้อ 1- 4 ดังกล่าวนี้ จะออกกฎหมายเป็น พระราชบัญญัติและมีฐานะเป็นนิติบุคคล

สำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นกระทรวง อยู่ภายใต้การปกครองบังคับบัญชาของนากยรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นเครี่องของนากยรัฐมนตรีในเรื่องที่เป็นหัวใจของการบิหารราชการหรือเกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี กิจการเกี่ยวกับการทำงบประมาณแผ่นดินและราชการอื่น ตามที่ได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักนายกรัฐมนตรี หรือส่วนราชการซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือส่วนราชการอื่น ๆ ซึ่งมิได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งโดยเฉพาะสำนักนายกรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของสำนักนายกรัฐมนตรีให้สอดคล้องกันนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี และจะให้มีรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีหรือทั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติก็ได้กระทรวง หมายถึง ส่วนราชการที่แบ่งออกเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ที่สุด รับผิดชอบงานที่กำหนดในพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งทำหน้าที่จัดทำนโยบายและแผน กำกับ เร่งรัด และติดตามนโยบาย และแผนการปฏิบัติราชการกระทรวง จะจัดระเบียบบริหารราชการโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีสำนักนโยบายและแผนเป็นส่วนราชการภายในขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกระทรวงหนึ่งๆมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนัมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกระทรวง และจะให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้ ให้มีปลัดกระทรวงมีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมราชการประจะในกระทรวง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการประจำในกระทรวงจากรับมนตรี โดยมีรองปลัดกระทรวงหรือผู้ช่วยปลัดกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งการและปฏิบัติราชการแทน การจัดระเบียบราชการของกระทรวง ดังนี้

1) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น เว้นแต่บางทบวงเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกรมก็ได้

ศาลยุติธรรมไทย

ศาลยุติธรรม (The Court of Justice) เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่นศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เว้นแต่ที่มีบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญหรือตามกฎหมายอื่น

ศาลชั้นต้น ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย

ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น
ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น รวมทั้งคดีอื่นใดที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญา แล้วแต่กรณี
ศาลแขวง มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีและมีอำนาจทำการไต่สวน หรือมีคำสั่งใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจตามที่กฎหมายกำหนดไว้

ศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลยุติธรรมสูงสุด ที่มีอยู่เพียงศาลเดียว
ศาลฎีกา เป็นศาลยุติธรรมชั้นสูงสุด มีเขตอำนาจทั่วทั้งราชอาณาจักร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายว่าด้วยการฎีกา และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยตรงต่อศาลฎีกาไม่ต้องผ่านศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตามกฎหมายเฉพาะ เช่น คดีแรงงาน คดีภาษีอากร คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ คดีล้มละลายเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ เป็นต้น และคดีที่กฎหมายอื่นบัญญัติให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาพิพากษา รวมทั้งมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดหรือสั่งคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลฎีกาตามกฎหมาย (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๓) คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลฎีกาเป็นที่สุด (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๓)ศาลฎีกามีองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีประกอบด้วยผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๗) แต่หากคดีใดมีปัญหาสำคัญ เมื่อประธานศาลฎีกาเห็นว่าควรให้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา ประธานศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้นำปัญหาดังกล่าวเข้าสู่การวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ หรือเมื่อเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติเป็นการเฉพาะว่าให้คดีเรื่องใดวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๐ วรรคสอง) ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาประกอบด้วยผู้พิพากษาศาลฎีกาทุกคนซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในวันที่มีการจัดประชุมใหญ่ แต่ทั้งนี้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้พิพากษาศาลฎีกาทั้งหมดองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีประกอบด้วยผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน แต่หากคดีใดมีปัญหาสำคัญ ประธานศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้นำปัญหาดังกล่าวเข้าสู่การวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาศาลฎีกาทุกคนซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในวันที่มีการจัดประชุมใหญ่ แต่ทั้งนี้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้พิพากษาศาลฎีกาทั้งหมดศาลฎีกามีแผนกคดีพิเศษทั้งสิ้น 11 แผนก เพื่อวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่อาศัยความชำนาญพิเศษ มีผู้พิพากษาศาลฎีกาประจำแผนก ๆ ละ ประมาณ 10 คน โดยแผนกคดีพิเศษในศาลฎีกาประกอบด้วยแผนกคดีที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย 10 แผนก ได้แก่

แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว
แผนกคดีแรงงาน
แผนกคดีภาษีอากร
แผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
แผนกคดีล้มละลาย
แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
แผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจ
แผนกคดีสิ่งแวดล้อม
แผนกคดีผู้บริโภค
แผนกคดีเลือกตั้ง
แผนกคดีที่ศาลฎีกาแบ่งเป็นการภายใน 1 แผนกคือ แผนกคดีปกครอง (ภายใน)

รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรี)

รายชื่อคณะรัฐมนตรี รัฐบาลอภิสิทธิ์

นายกรัฐมนตรี : นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
รองนายกรัฐมนตรี : นายสุเทพ เทือกสุบรรณ, นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ, พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี : นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย, นายวีระชัย วีระเมธีกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง : กรณ์ จาติกวณิช
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง : นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์, นายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์
รัฐมนตรี่ว่าการกระทรวงพาณิชย์ : นางพรทิวา นาคาสัย จากพรรคภูมิใจไทย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ : นายอลงกรณ์ พลบุตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม : พล. อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ
รัฐมนตรีการท่องเที่ยวและกีฬา : นายชุมพล ศิลปอาชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ : นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ : นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์, นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย : นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย : นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์, นายถาวร เสนเนียม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน : นายไพฑูรย์ แก้วทอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : คุณหญิงกัลยา โสภณพานิช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน : นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร : นายธีระ วงศ์สมุทร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร : นายชาติชาย พุคยาภรณ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม : นายธีระ สลักเพชร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ : ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี จาก พรรคเพื่อแผ่นดิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ : นายวิฑูรย์ นามบุตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม : นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม : นายโสภณ ซารัมย์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม : นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ, นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ : นายกษิต ภิรมย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : นายสุวิทย์ คุณกิตติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม : นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข : นายวิทยา แก้วภราดัย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข : นายมานิต นพอมรบดี
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี : นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี : นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์

การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 เนื่องจาก ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่า นาย สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กระทำการที่ขัดต่อ รัฐธรรมนูญมาตรา 267 และมาตรา 182 วรรค 1 (7) เนื่องจากการที่นายสมัครได้จัดรายการโทรทัศน์ ชิมไปบ่นไป และ ยกโขยง 6 โมงเช้า ทำให้นายสมัครต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเป็นผลให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งด้วยตามมาตรา 180 วรรค 1 (1) แต่ในระหว่างนี้คณะรัฐมนตรีทั้งหมดจะรักษาการในตำแหน่งไปก่อน จนกว่าจะได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ตามมาตรา 181

นโยบายและผลงานเสนอนโยบายการผันแม่น้ำโขงผ่านอุโมงค์ โดยการสร้างใช้หัวเจาะกระสนกันน้ำซึมเข้า ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเจาะอุโมงค์แบบรถไฟใต้ดิน คาดว่าปริมาณแม่น้ำโขงจะไหลผ่านอุโมงค์นี้ และแจกจ่ายไปตามโครงข่ายลำน้ำอื่นๆ เป็นการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนเพื่อการเกษตรและการอุปโภคในภาคอีสาน ภายใต้ความเชื่อที่ว่า "ถ้าอีสานมีน้ำ อีสานหายจน"รื้อฟื้นนำโครงการเมกะโปรเจ็กต์ที่รัฐบาลทักษิณทำไว้กลับมาใช้อีกครั้ง

ความมั่นคงการประนีประนอมกับทหาร โดยสมัคร กล่าวว่า มีความตั้งใจที่จะออกพ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 อยู่แล้ว และจะไม่เข้าไปแทรกแซงจัดการเรื่องโผการโยกย้ายนายทหาร โดยจะปล่อยให้ทางทหารนั้นจัดการกันเอง ซึ่งทำให้ทางทหารแสดงท่าทีเป็นมิตรกับนายสมัครด้วยเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเน้นหนักในเรื่องการสร้างความเข้าใจ ความเป็นธรรม การพัฒนาการศึกษา พัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน และการสร้างความปลอดภัยในพื้นที่

เศรษฐกิจยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ลดราคาสินค้าหมูเนื้อแดงขายจาก 120 บาท ต่อ กก. เหลือเพียง 98 บาท ต่อ กก.

มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจมาตรการ 6 มาตรการ 6 เดือน ช่วยคนจน ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายประชานิยมโดยการทำเงินภาษีมาเพื่อช่วยเหลือประชาชน จนรัฐบาลที่นำโดย นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ขยายเวลาเพิ่มในเวลาต่อมา

สิทธิมนุษยชนใช้นโยบายปราบปรามยาเสพติดขั้นเด็ดขาดเสนอให้มีเปิดการบ่อนกาสิโนอย่างถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทย ซึ่งก็ได้รับทั้งความเห็นชอบและคัดค้านจากหลาย ๆ ฝ่ายเป็นอย่างมาก

รัฐสภาไทย

รัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา

ต่อมา เมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการ สำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อนในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วยสถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51,027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือ
หลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง ส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง
หลังที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา
หลังที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา

ประวัติการ กบฎ ปฏิวัติและการรัฐประหารในประเทศไทย

ในประเทศไทย 'กบฏ ปฏิวัติ รัฐประหาร' โดยสาระสำคัญแล้ว การทำรัฐประหาร คือการใช้กำลังอำนาจเข้าเปลี่ยนแปลงอำนาจของรัฐ โดยมาก หากรัฐประหารครั้งนั้นสำเร็จ จะเรียกว่า 'ปฏิวัติ' แต่หากไม่สำเร็จ จะเรียกว่า 'กบฏ'

" คณะราษฎร " ซึ่งประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนบางกลุ่ม จำนวน 99 นาย มีพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีรัฐธรรมนูญใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศสืบต่อไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริ ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ ให้แก่ปวงชนชาวไทยอยู่ก่อนแล้ว จึงทรงยินยอมตามคำร้องขอของคณะราษฎร ที่ทำการปฏิวัติในครั้งนั้น

รัฐประหาร 20 มิถุนายน 2476
พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พร้อมด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนคณะหนึ่ง ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศอีกครั้งหนึ่ง เพื่อขอให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นลาออกจากตำแหน่งซึ่งเป็นการริดรอนอำนาจภายในคณะราษฏร ที่มีการแตกแยกกันเองในส่วนของการใช้อำนาจ ต้องมีมาตรการป้องกันมิให้ใช้อำนาจในทางที่ละเมิดต่อกฎหมาย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมและประเทศชาติ เช่น ให้มีศาลคดีการเมือง ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการรัฐสภา สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่มีอิสระอย่างเต็มที่ การประกาศทรัพย์สินของนักการเมืองทุกคนทุกตำแหน่ง การออกกฎหมายผลประโยชน์ขัดกัน ฯลฯ

กบฏบวชเดช 11 ตุลาคม 2476
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารจากหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ก่อการเพื่อล้มล้างอำนาจของรัฐบาล โดยอ้างว่าคณะราษฎรปกครองประเทศไทยโดยกุมอำนาจไว้แต่เพียงแต่เพียงผู้เดียว และปล่อยให้บุคคลกระทำการหมิ่นองค์พระประมุขของชาติ รวมทั้งจะดำเนินการปกครองโดยลัทธิคอมมิวนิสต์ ตามแนวทางของนายปรีดี พนมยงค์ คณะผู้ก่อการได้ยกกำลังเข้ายึดดอนเมืองเอาไว้ ฝ่ายรัฐบาลได้แต่งตั้ง พ.ท.หลวง พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการกองกำลังผสม ออกไปปราบปรามจนประสบผลสำเร็จ

กบฏนายสิบ 3 สิงหาคม 2478
ทหารชั้นประทวนในกองพันต่างๆ ซึ่งมีสิบเอกสวัสดิ์ มหะมัด เป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันก่อการเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยจะสังหารนายทหารในกองทัพบก และจับพระยาพหลพลพยุหเสนาฯ และหลวงพิบูลสงครามไว้เป็นประกัน รัฐบาลสามารถจับกุมผู้คิดก่อการเอาไว้ได้ หัวหน้าฝ่ายกบฏถูกประหารชีวิต โดยการตัดสินของศาลพิเศษในระยะต่อมา

กบฏพระยาทรงสุรเดช 29 มกราคม 2481
ได้มีการจับกุมบุคคลผู้คิดล้มล้างรัฐบาล เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ให้กลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ดังเดิม นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชถูกกล่าวหาว่าเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ และได้ให้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ต่อมารัฐบาลได้จัดตั้งศาลพิเศษขึ้นพิจารณา และได้ตัดสินประหารชีวิตหลายคน ผู้มีโทษถึงประหารชีวิตบางคน เช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร นายพลโทพระยาเทพหัสดิน นายพันเอกหลวงชานาญยุทธศิลป์ ได้รับการลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิต เนื่องจากศาลเห็นว่าเป็นผู้ได้ทำคุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติมาก่อน

รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490
คณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมี พลโทผิน ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้าสำคัญ ได้เข้ายึดอำนาจรัฐบาล ซึ่งมีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ แล้วมอบให้นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาลต่อไป ขณะเดียวกัน ได้แต่งตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย

กบฏแบ่งแยกดินแดน 28 กุมภาพันธ์ 2491
จะมีการจับกุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายคน เช่น นายทิม ภูมิพัฒน์ นายถวิล อุดล นายเตียง ศิริขันธ์ นายฟอง สิทธิธรรม โดยกล่าวหาว่าร่วมกันดำเนินการฝึกอาวุธ เพื่อแบ่งแยกดินแดนภาคอีสานออกจากประเทศไทย แต่รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการจับกุมได้ เนื่องจากสมาชิกผู้แทนราษฏรมีเอกสิทธิทางการเมือง

รัฐประหาร 6 เมษายน 2491
คณะนายทหารซึ่งทำรัฐประหารเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490 บังคับให้นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แล้วมอบให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้าดำรงตำแหน่งต่อไป

กบฏเสนาธิการ 1 ตุลาคม 2491
พลตรีสมบูรณ์ ศรานุชิต และพลตรีเนตร เขมะโยธิน เป็นหัวหน้าคณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง วางแผนที่จะเข้ายึดอำนาจการปกครอง และปรับปรุงกองทัพจากความเสื่อมโทรม และได้ให้ทหารเข้าเล่นการเมืองต่อไป แต่รัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ทราบแผนการ และจะกุมผู้คิดกบฏได้สำเร็จ

กบฏวังหลวง 26 มิถุนายน 2492
นายปรีดี พนมยงค์ กับคณะนายทหารเรือ และพลเรือนกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังเข้ายึดพระบรมมหาราชวัง และตั้งเป็นกองบัญชาการ ประกาศถอดถอน รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และนายทหารผู้ใหญ่หลายนาย พลตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยกาปราบปราม มีการสู้รบกันในพระนครอย่างรุนแรง รัฐบาลสามารถปราบฝ่ายก่อการกบฏได้สำเร็จ นายปรีดี พนมยงค์ ต้องหลบหนออกนอกประเทศอีกครั้งหนึ่ง

กบฏแมนฮัตตัน 29 มิถุนายน 2494
นาวาตรีมนัส จารุภา ผู้บังคับการเรือรบหลวงสุโขทัยใช้ปืนจี้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปกักขังไว้ในเรือรบศรีอยุธยา นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา หัวหน้าผู้ก่อการได้สั่งให้หน่วยทหารเรือมุ่งเข้าสู่พระนครเพื่อยึดอำนาจ และประกาศตั้งพระยาสารสาสน์ประพันธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เกิดการสู้รบกันระหว่างทหารเรือ กับทหารอากาศ จอมพล ป. พิบูลสงคราม สามารถหลบหนีออกมาได้ และฝ่ายรัฐบาลได้ปรามปรามฝ่ายกบฏจนเป็นผลสำเร็จ

รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน 2494
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจตนเอง เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมเสียงข้างมากในรัฐสภาได้ ต้องใช้วิธีการให้ตำแหน่งและผลประโยชน์ต่างๆ แก่บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนอยู่เสมอ ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2492 ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น มีวิธีการที่เป็นประชาธิปไตยมากเกินไป จึงได้ล้มเลิกรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเสีย พร้อมกับนำเอารัฐธรรมนูญฉบับลงวันที่ 10 ธันวาคม 2475 มาใช้อีกครั้งหนึ่ง

กบฏสันติภาพ 8 พฤศจิกายน 2497
นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) และคณะถูกจับในข้อหากบฏ โดยรัฐบาลซึ่งขณะนั้นมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เห็นว่าการรวมตัวกันเรี่ยไรเงิน และข้าวของไปแจกจ่ายแก่ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งขณะนั้นกำลังประสบกับความเดือดร้อน เนื่องจากความแห้งแล้งอย่างหนัก เป็นการดำเนินการที่เป็นภัยต่อรัฐบาล นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ กับคณะถูกศาลตัดสินจำคุก 5 ปี

รัฐประหาร 16 กันยายน 2500
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารนำกำลังเข้ายึดอำนาจของรัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ภายหลังจากเกิดการเลือกตั้งสกปรก และรัฐบาลได้รับการคัดค้านจากประชาชนอย่างหนัก จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ต้องหลบหนีออกไปนอกประเทศ

รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2501
เป็นการปฏิวัติเงียบอีกครั้งหนึ่ง โดยจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้น ลากออกจากตำแหน่ง ในขณะเดียวกันจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ได้ประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากเกิดการขัดแย้งในพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล และมีการเรียกร้องผลประโยชน์หรือตำแหน่งหน้าที่ทางการเมือง เป็นเครื่องตอบแทนกันมาก คณะปฏิวัติได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง และให้สภาผู้แทน และคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง

รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน 2514
จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ทำการปฏิวัติตัวเอง ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ขึ้นทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ และให้ร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายในระยะเวลา 3 ปี

ปฏิวัติโดยประชาชน 14 ตุลาคม 2516
การเรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญของนิสิตนักศึกษา และประชาชนกลุ่มหนึ่งได้แผ่ขยายกลายเป็นพลังประชาชนจำนวนมาก จนเกิดการปะทะสู้รบกันระหว่างรัฐบาลกับประชาชน เป็นผลให้จอมพลถนอม กิตติขจร นายักรัฐมนตรี จอมพลประภาส จารุเสถียร และพันเอกณรงค์ กิตติขจร ต้องหลบหนีออกนอกประเทศ

ปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน 6 ตุลาคม 2519
พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ และคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ เนื่องจากเกิดการจลาจล และรัฐบาลพลเรือนในขณะนั้นยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยทันที คณะปฏิวัติได้ประกาศให้มีการปฏิวัติการปกครอง และมอบให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2520
พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจของรัฐบาล ซึ่งมีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐบาลได้รับความไม่พอใจจากประชาชน และสถานการณ์จะก่อให้เกิดการแตกแยกระหว่างข้าราชการมากยิ่งขึ้น ประกอบกับเห็นว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในการปฏิรูปการปกครอง ซึ่งมีระยะเวลาถึง 12 ปีนั้นนานเกินไป สมควรให้มีการเลือกตั้งขึ้นโดยเร็ว

กบฎ 26 มีนาคม 2520
พลเอกฉลาด หิรัญศิริ และนายทหารกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังทหารจากกองพลที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี เข้ายึดสถานที่สำคัญ 4 แห่ง คือ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกสวนรื่นฤดี กองบัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า สนามเสือป่า และกรมประชาสัมพันธ์ ฝ่ายทหารของรัฐบาลพลเรือน ภายใต้การนำของ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลอากาศเอกกมล เดชะตุงคะ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และพลเอกเสริม ณ นคร ผู้บัญชาการทหารบก ได้ปราบปรามฝ่ายกบฏเป็นผลสำเร็จ พลเอกฉลาด หิรัญศิริ ถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2520

กบฎ 1 เมษายน 2524
พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา ด้วยความสนับสนุนของคณะนายทหารหนุ่มโดยการนำของพันเอกมนูญ รูปขจร และพันเอกประจักษ์ สว่างจิตร ได้พยายามใช้กำลังทหารในบังคับบัญชาเข้ายึดอำนาจปกครองประเทศ ซึ่งมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเกิดความแตกแยกในกองทัพบก แต่การปฏิวัติล้มเหลว ฝ่ายกบฏยอมจำนนและถูกควบคุมตัว พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา สามารถหลบหนีออกไปนอกประเทศได้ ต่อมารัฐบาลได้ออกกฏหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการกบฏในครั้งนี้

การก่อความไม่สงบ 9 กันยายน 2528
พันเอกมนูญ รูปขจร นายทหารนอกประจำการ ได้นำกำลังทหาร และรถถังจาก ม.พัน 4 ซึ่งเคยอยู่ใต้บังคับบัญชา และกำลังทหารอากาศโยธินบางส่วน ภายใต้การนำของนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร เข้ายึดกองบัญชาการทหารสูงสุด และประกาศให้ พลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองของประเทศ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในขณะที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี และพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก อยู่ในระหว่างการไปราชการต่างประเทศ กำลังทหารฝ่ายรัฐบาลโดยการนำของพลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ รองผู้บัญชากรทหารสูงสุด ได้รวมตัวกันต่อต้านและควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ในเวลาต่อมา พันเอกมนูญ รูปขจร และนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร หลบหนีออกนอกประเทศ การก่อความไม่สงบในครั้งนี้มีอดีตนายทหารผู้ใหญ่หลายคน ตกเป็นผู้ต้องหาว่ามีส่วนร่วมอยู่ด้วย ได้แก่ พลเอกเสริม ณ นคร พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลอากาศเอกพะเนียง กานตรัตน์ พลเอกยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา และพลอากาศเอกอรุณ พร้อมเทพ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534
โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติซึ่งประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ เจ้าหน้าที่-ตำรวจ และพลเรือน ภายใต้การนำของพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก พลเรือเอกประพัฒน์ กฤษณ-จันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลตำรวจเอกสวัสดิ์ อมร-วิวัฒน์ อธิบดีกรมตำรวจ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และพลเอกอสิระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก เลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475

การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 คือ การปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร ได้ใช้กลลวง นำทหารบกและทหารเรือมารวมตัวกันบริเวณรอบ พระที่นั่งอนันตสมาคม ประมาณ 2000 คน ตั้งแต่เวลาประมาณ 5 นาฬิกา โดยอ้างว่าเป็นการสวนสนาม จากนั้นนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้อ่าน ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เสมือน ประกาศยึดอำนาจการปกครอง ก่อนจะนำกำลังแยกย้ายไปปฏิบัติการต่อไป

หลักฐานประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นหมุดทองเหลือง ฝังอยู่กับพื้นถนน บนลานพระบรมรูปทรงม้า ด้านสนามเสือป่า (ถ้าหันหน้าไปทางเดียวกับหัวม้า จะอยู่ทางด้านซ้ายมือ) มีข้อความว่า "ณ ที่นี้ 24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎร ได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ เพื่อความเจริญของชาติ" เป็นหลักฐานถึงเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เมื่อ 72 ปีก่อน ข้อความเหล่านี้นับวันแต่จะเลือนหายไปตามกาลเวลา คณะราษฎรที่ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 นั้นประกอบด้วยคนสองกลุ่ม คือ
กลุ่มนักเรียนไทยในต่างประเทศ
กลุ่มนายทหารในประเทศไทย

บุคคลทั้งสองกลุ่มพื้นฐานการศึกษาคล้ายกัน คือ ศึกษาวิชาพื้นฐานหรือวิชาชีพจากประเทศทางตะวันตก ใกล้ชิดกับการปกครองของประเทศที่ตนไปศึกษา คือ ได้สัมผัสกับบรรยากาศการปกครองในระบอบประธิปไตย เห็นความเจริญก้าวหน้าจากการที่ประชาชนในยุโรปตะวันตกมีส่วนร่วมในการปกครอง ประกอบกับบุคคลทั้งสองกลุ่มเป็นบุคคลที่มีสติปัญญาสูง ส่วนใหญ่ได้รับทุนเล่าเรียนหลวง จึงกำหนดในความคิดว่าตนควรจะมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ

คณะผู้ก่อการยึดอำนาจการปกครอง ได้รวมกลุ่มกันที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ พ.ศ. 2469 ได้มีข้อขัดแย้งกับผู้ดูแลนักเรียนไทยในฝรั่งเศสซึ่งเป็นพระราชวงศ์องค์หนึ่ง ซึ่งกล่าวหาว่านักเรียนไทยเป็นพวกหัวรุนแรง ไม่ปฏิบัติตามระเบียบวินัย ควรเรียกบางคนกลับประเทศไทยำให้นักเรียนในต่างประเทศมีพื้นฐานการไม่พอใจสถานการณ์บ้านเมืองเป็นส่วนตัว คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เป็นนักเรียนไทยในต่างประเทศเมื่อกลับมาถึงประเทศไทย ก็ได้เตรียมการวางแผนยึดอำนาจโดยชักชวนให้กลุ่มนายทหารเข้าร่วมด้วย การยึดอำนาจการปกครองของประเทศไทยมีผู้กระทำมาครั้งหนึ่งแล้วใน ร.ศ.130 กระทำไม่สำเร็จ ดังนั้นคณะราษฎรจึงได้วางแผนอย่างดีป้องกันข้อบกพร่องที่อาจมีขึ้น และการชัดชวนทหารเข้าร่วมด้วยจึงทำให้เกิดความสำเร็จเพราะทหารมีอาวุธ ผู้บริหารประเทศยินยอมให้คณะราษฎรยึดอำนาจไม่โต้แย้ง ด้วยเกรงว่าพระบรมวงศานุวงศ์จนถึงประชาชนจะเป็นอันตรายเพราะอาวุธ

ชนวนที่ทำให้คณะราษฎรลงมือวางแผนยึดอำนาจมีหลายสาเหตุ ได้แก่สาเหตุแรก สภาพบ้านเมืองในช่วงเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาอภิรัฐมนตรีสภาซึ่งสมาชิกทั้งหมดเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ ด้วยเหตุผลที่จำให้แก้สถานการณ์ที่กล่าวว่า พระมหากษัตริย์กับพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่แตกแยกกัน อภิรัฐมนตรีสภาช่วยแบ่งเบาพระราชกรณียกิจได้หลายประการแต่ความคิดของผู้ใหญ่และของผู้เยาว์กว่าย่อมแตกต่างกัน ดังนั้นการยับยั้งข้อเสนอบางเรื่องโดยเฉพาะพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเย้าอยู่หัวที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ประชาชนชาวไทยในวาระราชวงศ์จักรีทรงปกครองแผ่นดินมาครบ 150 ปี จึงทำให้คณะราษฎรและกลุ่มหนังสือพิมพ์มองว่า พวกเจ้าหลงกับอำนาจ

สาเหตุที่สอง ได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศรายได้ไม่พอกับรายจ่าย สืบเนื่องจากเศรษฐกิจของโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และการใช้จ่ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว การแก้ไขคือ การดุลข้าราชการ ยุบเลิกหน่วยงานต่าง ๆ ตัดทอนค่าใช้จ่ายของกระทรวง กรม กอง และเก็บภาษีบางประการเพิ่มการแก้ไขดังนี้ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่ผู้เสียประโยชน์ ในวงการทหารก็เช่นกัน การขัดแย้งเรื่องงบประมาณกระทรวงกลาโหม จนถึงเสนาบดีกระทรวงกลาโหมขอลาออกจากราชการ จึงเป็นเหตุให้นายทหารคิดเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในขณะที่มีการดุลข้าราชการออก ก็มีกลุ่มบุคคลมองว่าดุลออกเฉพาะสามัญชน ส่วนข้าราชการที่เป็นเจ้าไม่ต้องถูกดุล แล้วยังบรรจุเข้าทำงานแทนสามัญชนอีก ความแตกต่างทางฐานะด้านสังคมก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง

สาเหตุที่สำคัญที่สุดก็คือ ความล่าช้าในการบริหารราชการแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์จะฝึกข้าราชการในสภากรรมการองคมนตรีให้เรียนรู้วิธีการประชุม ปรึกษาแบบรัฐสภาเพื่อเตรียมการพระราชทานรัฐธรรมนูญ ก็ทำได้อย่างไม่มีผลเท่าไรนักพระราชบัญญติเทศบาลซึ่งจะเป็นรากฐานของการปกครองตนเองก็ยังไม่ได้ประกาศออกใช้ และข้อสุดท้ายคือ ร่างรัฐธรรมนูญที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ผู้ชำนาญการร่างไว้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ยังไม่ได้พระราชทานแก่ประชาชน

การเปลี่ยนแปลงการปกครองกระทำได้สำเร็จ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชน การปกครองของประเทศจึงเปลี่ยนไป คือมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ

เหตุการณ์กบฎ ร.ศ 130 (กบฎเหล็ง ศรีจันทร์)

กบฏ ร.ศ. 130 เกิดขึ้นก่อนการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 นานถึง 24 ปี โดยเกิดขึ้นใน สมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2455 (ร.ศ. 130) เมื่อนายทหารและปัญญาชนกลุ่มหนึ่ง วางแผนปฏิบัติการโดยหมายให้พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทาน รัฐธรรมนูญ ให้ และเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ ระบอบประชาธิปไตย แต่แผนการแตกเสียก่อน จึงมีการจับกุมผู้คิดก่อการหลายคนไว้ได้ มีการพิจารณาตัดสินลงโทษให้จำคุกและประหารชีวิต แต่ท้ายที่สุดได้รับการพระราชทานอภัยโทษ ด้วยทรงเห็นว่าผู้ก่อการมิได้คิดประทุษร้ายแก่พระองค์

คณะผู้ก่อการได้รวมตัวกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2455 ประกอบด้วยผู้ร่วมคณะเริ่มแรกจำนวน 7 คน คือ

ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (หมอเหล็ง ศรีจันทร์) เป็นหัวหน้า
ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ จาก กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
ร.ต.จรูญ ษตะเมษ จากกองปืนกล รักษาพระองค์
ร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์
ร.ต.ปลั่ง บูรณโชติ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์
ร.ต.หม่อมราชวงศ์แช่ รัชนิกร จาก โรงเรียนนายสิบ
ร.ต.เขียน อุทัยกุล จาก โรงเรียนนายสิบ

คณะผู้ก่อการวางแผนจะก่อการในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และวันขึ้นปีใหม่ ผู้ที่จับฉลากว่าต้องเป็นคนลงมือลอบปลงพระชนม์ คือ ร.อ.ยุทธ คงอยู่ เกิดเกรงกลัวความผิด จึงนำความไปแจ้งหม่อมเจ้าพันธุ์ประวัติ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ และพากันนำความไปแจ้ง สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ

ความทราบไปถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประทับอยู่ที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม คณะทั้งหมดจึงถูกจับกุมเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถูกส่งตัวไปคุมขังที่คุกกองมหันตโทษ ที่สร้างขึ้นใหม่ และได้รับพระราชทานอภัยโทษในพระราชพิธีฉัตรมงคล เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2467 ครบรอบปีที่ 15 ของการครองราชย์

ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดจากเมื่อตอนปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 พ.ศ. 2452 ได้เกิดการทะเลาะวิวาทกันระหว่างทหารราบที่ 1 กับพวกมหาดเล็กบางคนของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ในการที่ได้มีเหตุวิวาทนั้น ได้ความว่า เพราะเรื่องหญิงขายหมากคนหนึ่ง การทะเลาะวิวาทกันอย่างฉกรรจ์นี้ เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชทรงทราบ ก็ได้รับสั่งให้ผู้บังคับบัญชาการทหารราบที่ 2 ทำการสอบสวน และภายหลังการสอบสวนได้ความว่า หัวหน้าคือ ร.อ. โสม ซึ่งให้การรับสารภาพ ดังนั้น ร.อ.โสม กับพวกอีก 5 คน จึงถูกคุมขัง เพื่อรอคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาต่อไป

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชได้นำความขึ้นกราบบังคมทูล สมเด็จพระบรมชนกนาถ ขอให้ลงพระอาญาเฆี่ยนหลังทหารเหล่านั้นตามจารีตประเพณีนครบาล ในการกระทำอุกอาจถึงหน้าประตูวังของรัชทายาท แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเห็นด้วย เสด็จในกรมราชบุรี นักกฏหมายได้ชี้แจงว่า ควรจะจัดการไปตามกฏหมาย เพราะได้ใช้ประมวลกฏหมายอาญาเยี่ยงอารยประเทศแล้ว จึงไม่ควรนำเอาจารีตนครบาล ซึ่งได้มีพระบรมราชโองการประกาศยกเลิกไปแล้วกลับมาใช้อีก แต่คำคัดค้านทั้งหลายไม่เป็นผล สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชยังทรงยืนกรานจะให้โบยหลังให้ได้ มิฉะนั้นจะทรงลาออกจากตำแหน่งองค์รัชทายาททันที สมเด็จพระบรมชนกนาถ ทรงเห็นการณ์ไกลว่า ถ้าไม่ตามพระทัย เรื่องอาจจะลุกลามกันไปใหญ่โต จึงทรงอนุมัติไปตามคำขอ

จากพฤติกรรมดังกล่าวนี้ ได้สร้างความไม่พอใจให้แก่ทหารทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง นักเรียนนายร้อยทหารบก พากันไม่ยอมเข้าเรียน แต่ผู้บัญชาการโรงเรียนทหารบกขณะนั้น คือสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ ได้ทรงอธิบายปลอบโยน ด้วยข้อความอันซาบซึ้งตรึงใจ นักเรียนนายร้อยเหล่านั้นจึงได้ยอมเข้าเรียนตามปกติ แล้วเหตุการณ์นั้นก็ผ่านไป

ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2453 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่6 พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งกองเสือป่าขึ้น และเอาพระทัยใส่ในกิจการนี้เป็นอย่างดี นายทหารรุ่นที่สำเร็จจากโรงเรียนนายร้อยรุ่นปลาย ร.ศ.128 เรียกรุ่นนั้นว่า "ร.ศ.129" ก็ได้เข้าประจำการตามกรมกองต่างๆ ทั่วพระราชอาณาจักร บางคนยังไม่ลืมเหตุการณ์เฆี่ยนหลังนายทหารตั้งแต่คราวนั้น และยังสะเทือนใจอยู่ และประกอบกับมีความรู้สึกว่า "กองเสือป่า" ที่พระเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งนั้น ก็มิใช่ลูกเลือ เป็นกิจกรรมที่ตั้งซ้ำกับการทหาร และยังทำงานชิงดีชิงเด่นกับทหารแห่งชาติเสียด้วย ย่อมทำให้ความมั่นคงของชาติเสื่อมสลายลงเป็นอย่างมาก

ความไม่พอใจของทหารหนุ่มหมู่หนึ่งนั้นยิ่งทวีขึ้น เพราะมองเห็นว่า กิจการของกองเสือป่านั้น ไม่เกิดประโยชน์อันใดแก่ประเทศชาติบ้านเมือง และเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินโดยไม่จำเป็น เป็นเหตุให้การเศรษฐกิจการคลังของประเทศอยู่ในฐานะฝืดเคือง และเป็นการทรมานข้าราชการผู้เฒ่าชราอย่างน่าสงสาร ทั้งยังทำให้กิจการงานเมืองฝ่ายทหาร และพลเรือนต้องอลเวงสับสน ไม่เป็นอันประกอบกิจการงาน เป็นการเสียทรัพย์ เสียเวลา เสียงานของชาติ และบุคคลบางจำพวกที่อยู่ในราชสำนักขณะนั้น ไม่ทราบซึ่งในพระมหากรุณาธิคุณ ของเจ้านายของตนเพียงพอ ปฎิบัติประพฤติตนไปในทำนองผยองตน ต่อข้าราชการและพลเมืองของชาติ ที่ยังจงรักภักดี ต่อพระมหากษัตริย์ของเขาอย่างแนบแน่น จนเป็นเหตุให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ แม้กระทั่งหนังสือพิมพ์ก็ลงบทความตำหนิ จนผู้ที่มีใจเป็นธรรมต้องเข้าร่วมเป็นพรรคพวกกับทหารหนุ่มๆ เหล่านั้นด้วย แม้แต่กระทั้ง เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ พระอนุชาของพระองค์ ก็ได้ทรงแสดงพระอาการไม่เป็นที่พอพระทัยมาก จนออกหน้าออกตาความไม่พอใจได้เพิ่มทวียิ่งขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปี พ.ศ.2454 หรือ ร.ศ. 130 พวกคิดก่อการโค่นล้มพระราชบัลลังก์ ได้เพิ่มพูนความไม่พอใจขึ้นอีก ด้วยเรื่องของความอิจฉาริษยาเสือป่า ซึ่งถือว่าเป็นหมู่ชนที่ได้รับการโปรดปรานยิ่งกว่าหมู่อื่น จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการตระเตรียมการปฎิวัติขึ้น และแผนการณ์ปฎิวัตินั้นอยู่ในขั้นรุนแรงเป็นอย่างยิ่ง จนถึงกับจะลอบปลงพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เลยทีเดียว สมุหฐานที่สำคัญ ในการปฎิวัติครั้งนี้ ที่พอสรุปได้มีดังนี้ คือ

1) เนื่องจากพวกจักรวรรดินิยม กดขี่ข่มเหงประเทศต่างๆ ในเอเซีย และได้แลเห็นประเทศจักรวรรดินิยมเหล่านั้น มีความเจริญในด้านต่างๆ จนสามารถปราบปรามประเทศต่างๆในเอเซีย และเรียนรู้การปกครองของประเทศจักรวรรดินิยมเขาทำกันอย่างไร จึงมีความปรารถนาจะให้ประเทศของตนเป็นไปอย่างยุโรปบ้าง
2) พวกคณะปฎิวัติได้เห็นประเทศญี่ปุ่นมีความเจริญก้าวหน้า ภายหลังที่ได้เปลี่ยนการปกครองเป็นประชาธิปไตย จนสามรถรบชนะจีนและรัสเซีย จึงต้องการให้ประเทศสยามมีความก้าวหน้าอย่างนั้นบ้าง
3) เมื่อเห็น ดร.ซุนยัดเซน โค่นบัลลังก์แมนจู เป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน คณะปฎิวัติ ร.ศ. 130 ต้องการให้ประเทศสยามเป็นเช่นนั้นบ้าง
4) คณะปฎิวัติเล็งเห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อ่อนแอเหมือนพระเจ้าหลุยส์ที่14 ไม่สนพระทัยในกิจการบ้านเมือง จึงคิดจะปฎิวัติ เพื่อปรับปรุงประเทศอย่างตะวันตก
5) ทหารถูกเหยียดหยาม
) ความเป็นไปในราชสำนักฟุ่มเฟือย ไร้สารัตถะ
7) ความสิ้นเปลืองเงินแผ่นดินไปโดยไร้ประโยชน์ และมีเหตุอันไม่บังควร
8) มีการแบ่งชั้นวรรณะ ระหว่างผู้ที่เรียกตนเองว่าเจ้า กับไพร่
9) ขุนนางผู้ใหญ่ มีความเสื่อมทรามเหลวแหลก
10) ข้าราชการทำงานเอาตัวรอดไปวันๆ โดยไม่คิดถึงประเทศชาติและบ้านเมือง
11) ราษฎรไม่ได้รับการบำรุงส่งเสริมอย่างจริงจัง
12) ชาวไร่ ชาวนา ถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับการส่งเสริมช่วยเหลือให้ดีขึ้นตามสมควร
13) ทุพภิกขภัย ความอดอยากหิวโหย แผ่ซ่านไปในหมู่กสิกร เมื่อดินฟ้าอากาศไม่เอื้ออำนวยในการเพาะปลูก
14) ทั้งที่เกิดความอดอยากยากจนอยู่ทั่วประเทศ แต่ทางราชการกลับเก็บภาษีเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ราษฎรประสบความเดือดร้อนอย่างสาหัส
15) ผู้รักษากฎหมายใช้อำนาจเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ ประชาชนพลเมือง
16) กดการศึกษาของพลเมือง เพื่อมิให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เทียบเท่าชนชั้นผู้ปกครอง
17) ความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมืองขาดการทำนุบำรุง

การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5

รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้ทรงศึกษาศิลปวิทยาเป็นอันมาก ทั้งในวิชาอักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ โบราณคดี ภาษาอังกฤษ ภาษาบาลี มวยปล้ำ วิชากระบี่กระบอง ตลอดจนวิชาวิศวกรรม อีกทั้งยังได้เสด็จประพาสต่างประเทศ ก่อนขึ้นครองราชย์สมบัติ เเละขณะขึ้นครองราชย์สมบัติอีกหลายครั้ง ดังนั้นในการปกครองประเทศพระองค์จึงนำเอาการบริหารต่างประเทศมาดัดแปลงให้เข้ากับประเทศไทย เช่น การจัดทหาร ก็ให้ฝึกตามแบบอย่างของฝรั่ง การศาลก็มีการแก้ไขกฎหมายและกระบวนการพิจารณาความต่างๆ ให้รัดกุมและเหมาะสมยิ่งขึ้น ยกเลิกวิธีพิจารณาความด้วยการทรมานต่างๆที่ผิดมนุษยธรรม ทรงจัดตั้งกระทรวงขึ้นบริหารราชการ ยิ่งกว่านั้นยังทรงโปรดการประพาสตามหัวเมืองต่างๆ เพื่อทรงทราบความทุกข์สุขของประชาชนของพระองค์อยู่เสมอ

การปฏิรูปการปกครองในรัชกาลที่ 5
มีการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินดังนี้ ตั้งสภาแผ่นดิน 2 สภาได้แก่
1. รัฐมนตรีสภา ประกอบด้วยขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ มีพระองค์ท่านเป็นประธาน รัฐมนตรีสภามีหน้าที่ถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดิน รวมทั้งพิจารณาพระราชบัญญัติ พระราชกำหนดกฎหมายต่าง ๆ
2. องคมนตรีสภา ประกอบด้วยสมาชิก 49 คน ทำหน้าที่เป็นสภา ที่ปรึกษา ราชการในพระองค์และมีหน้าที่ปฏิบัติราชการแผ่นดินตามแต่จะมีพระราชดำรัส ปฏิรูปองค์การบริหารในส่วนกลางใหม่ดังนี้กรมมหาดไทย กรมกลาโหม กรมเมือง กรมวัง กรมท่า และกรมนา คือ 6 กรมเดิมที่มีมาและต่อมาได้ตั้งขึ้นใหม่อีก 6 กรม ได้แก่ กรมพระคลัง กรมยุติธรรม กรมธรรมการ กรมโยธาธิการ กรมยุทธนาธิการ และ กรมมุรธาธร รวมเป็น 12 กรม ต่อมายกฐานะขึ้นเป็นกระทรวง ภายหลังได้ยุบกระทรวงยุทธนาธิการเข้ากับ กระทรวงกลาโหม และ กระทรวงมุรธาธรรวมเข้ากับกระทรวงวัง คงเหลือ 10 กระทรวงดังนี้

1. กระทรวงมหาดไทย
2. กระทรวงกลาโหม
3. กระทรวงนครบาล
4. กระทรวงการต่างประเทศ
5. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
6. กระทรวงวัง
7. กระทรวงเกษตราธิการ
8. กระทรวงยุติธรรม
9. กระทรวงโยธาธิการ
10. กระทรวงธรรมการ

กระทรวงต่าง ๆ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1. กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือรวมทั้งประเทศราศทางเหนือ
2. กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ กรมทหารเรือ กรมช้าง กรมแสง
3. กระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่จัดการเรื่องเกี่ยวกับการต่างประเทศ
4. กระทรวงนครบาล มีหน้าที่จัดการในเรื่องความปลอดภัยในพระนคร
5.กระทรวงวัง มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องในราชสำนักและพระราชพิธีต่าง ๆ
6. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีหน้าที่บังคับบัญชาการเก็บภาษีอากรและการเงินของแผ่นดิน
7. กระทรวงเกษตรและพาณิชยการ มีหน้าที่จัดการเรื่องเพาะปลูก การป่าไม้ การค้า และโฉนดที่ดิน
8. กระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่จัดการเรื่องเกี่ยวกับศาล
9. กระทรวงยุทธนาธิการ มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับทหารบกและทหารเรือ
10. กระทรวงธรรมการ มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องศาสนา การศึกษา การพยาบาล และพิพิธภัณฑ์
11. กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องการก่อสร้าง การไปรษณีย์ การสื่อสาร
12. กระทรวงมุรธาธร มีหน้าที่ดูแลรักษาพระราชลัญจกร หนังสือราชการเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์

กระทรวงต่างๆ

กระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครอง สื่อมวลชนไทย มักจะเรียกขาน กระทรวงมหาดไทย ว่า กระทรวงคลองหลอดหน้าที่และความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย สรุปได้ 4 ประการ คือ
1.ด้านการเมืองการปกครอง กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการอำนวยการเลือกตั้ง ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย และการรักษาความมั่นคงของชาติ
2.ด้านเศรษฐกิจ กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพและความเป็นอยู่ของประชาชน รับผิดชอบการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร การพัฒนาแหล่งน้ำ
3. ด้านสังคม กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชน และการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม เป็นต้น
4.ด้านการพัฒนาทางกายภาพ กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดชุมชนการจัดที่ดิน และการให้บริการสาธารณูปโภคในเขตเมือง กระทรวงกลาโหมเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลที่รับผิดชอบทางด้านการป้องกันประเทศ ประกอบด้วยหน่วยงานทางการทหารหลายสาขา

กระทรวงนครบาล
ในสมัยรัชกาลที่ 5ได้ทรงจัดตั้ง "กระทรวงนครบาล"ขึ้น มีหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและการปกครองท้องที่ มีหน่วยงาน กรมกองตระเวน (ตำรวจ) และทรงแต่งตั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนเรศวรฤทธิ์ เป็นเสนาบดีว่าการกระทรวงนครบาล ทรงได้รับสนองพระบรมราชโองการล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 โดยปฏิรูปงานของกรมพลตระเวนหรือตำรวจนครบาลให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น และกำหนดระบบงานต่างๆขึ้นมามากมาย อันถือเป็นรากฐานสำคัญในการจัดระบบราชการ และของตำรวจนครบาลตั้งแต่นั้นมารัชกาลที่ 5 ทรงเร่งรัดงานตำรวจมีข้อมูลทางประวัติศาสตร์ปรากฏเป็นพระราชหัตเลขาหลายฉบับ ที่พระองค์ทรงเอาใจใส่ ดังนั้นการที่ตำรวจนครบาลในยุคปัจจุบันที่ถูกเร่งรัดงานจากผู้บังคับบัญชาระดับสูง กระทรวงการต่างประเทศ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการต่างประเทศและราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้ เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกราชการด้านการคลังออกจากกรมท่า ตราบัวแก้วจึงเป็นตราประจำตำแหน่งเสนาบดีจตุสดมภ์ กรมท่า และต่อมาเมื่อได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดระบบราชการใหม่โดยแบ่งเป็น 12 กระทรวง ตราบัวแก้ว จึงเป็นตราประจำเสนาบดีว่าการต่างประเทศ และกลายมาเป็นตราของกระทรวงการต่างประเทศ

กระทรวงการคลัง
เป็นหน่วยงานราชการที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงินของแผ่นดิน การภาษีอากร การรัษฎากร กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ กิจการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นการผูกขาดของรัฐ กิจการหารายได้ซึ่งรัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่เพียงผู้เดียวตามกฎหมายและไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมอื่น และกิจการซึ่งจะเป็นสัญญาผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อำนาจหรือสัตยาบัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า การบริหารการคลังของประเทศประสบปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากรและการจัดระบบการคลัง

กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่ส่งเสริมการศึกษาให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม สร้างความเสมอภาคและโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้มีส่วนร่วมทางการศึกษา ส่งเสริมการศึกษาวิชาชีพ ให้เอกชนมีส่วนร่วมในการศึกษา เน้นให้นิสิตนักศึกษามีโอกาสศึกษาต่อสูงขึ้นทั้งในท้องถิ่นและสถาบันเปิด เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้บริการแก่สังคม พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ส่งเสริมผู้ที่มีความสามารถพิเศษให้ได้เรียนและแสดงออกในทางที่เหมาะสม ประวัติในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการก่อตั้ง "กระทรวงธรรมการ" ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ดูแลศาสนา การศึกษา การพยาบาล และพิพิธภัณฑ์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 ซึ่งกระทรวงธรรมการมีการเปลี่ยนชื่อไปมาหลายครั้งระหว่างชื่อ "กระทรวงธรรมการ" และ "กระทรวงศึกษาธิการ" อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 ก็ได้ใช้ชื่อว่า "กระทรวงศึกษาธิการ" ตั้งแต่นั้นมา โดยมีที่ทำการอยู่ที่ "วังจันทรเกษม" จนถึงปัจจุบัน

การบริหารราชการส่วนภูมิภาค โปรดฯให้จัดระเบียบบริหารราชการหัวเมืองใหม่ ให้ยกเลิกเมืองพระยามหานคร ชั้นเอก โท ตรี จัตวา และหัวเมืองประเทศราช โดยจัดเป็นมณฑลเทศาภิบาล ให้อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทยเพียงกระทรวงเดียว ปรากฎว่าในปี พ.ศ. 2449 ได้จัดแบ่งพระราชอาณาจักรออกเป็น 18 มณฑลดังนี้ มณฑลลาวเฉียงหรือมณพลพายัพ มีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง มณฑลลาวพวนหรือมณฑลอุดร มีศูนย์กลางอยู่ที่หนองคาย มณฑลลาวกาวหรือมณฑลอีสาน มีศูนย์กลางอยู่ที่จำปาศักดิ์ มณฑลเขมร หรือมณฑลบูรพา มีศูนย์กลางอยู่ที่พระตะบอง มณฑลลาวกลางหรือมณฑลราชสีมา มีศูนย์กลางอยู่ที่นครราชสีมา มณฑลภูเก็ต มีศูนย์กลางอยู่ที่ภูเก็ต มณฑลพิษณุโลก มีศูนย์กลางอยู่ที่พิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรี มีศูนย์กลางอยู่ที่ปราจีนบุรี มณฑลราชบุรี มีศูนย์กลางอยู่ที่ราชบุรี มณฑลนครชัยศรี มีศูนย์กลางอยู่ที่นครปฐม มณฑลนครสวรรค์ มีศูนย์กลางอยู่ที่นครสวรรค์ มณฑลกรุงเก่า มีศูนย์กลางอยู่ที่อยุธยา มณฑลนครศรีธรรมราช มีศูนย์กลางอยู่ที่นครศรีธรรมราช มณฑลไทรบุรี มีศูนย์กลางอยู่ที่ไทรบุรี มณฑลจันทบุรี มีศูนย์กลางอยู่ที่จันทบุรี มณฑลปัตตานี มีศูนย์กลางอยู่ที่ปัตตานี มณฑลชุมพร มีศูนย์กลางอยู่ที่ชุมพร มณฑลกรุงเทพฯ มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงเทพมหานคร มณฑลกรุงเทพฯ ประกอบด้วย 6 เมืองได้แก่ พระนคร ธนบุรี ปทุมธานี นนทบุรี นครเขื่อนขันธ์ และสมุทรปราการในปี พ.ศ. 2440 ทรงตราพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ขึ้น สำหรับจัดการปกครองในเขตอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน

การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

สภาพทางการเมืองในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงรูปแบบของระบบประชาธิปไตยอันเป็นระบบการปกครองที่สืบทอดมาช้านาน การเปลี่ยนแปลงภายในตัวระบบอยู่ที่การปรับบทบาทของสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันสูงสุดที่ทำหน้าที่ปกครองประเทศ รูปแบบของสถาบ้นกษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คลายความเป็นเทวราชาลงเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันก็กลับเน้นคติและรูปแบบของธรรมราชาขึ้นแทนที่ อย่างไรก็ตาม อำนาจอันล้นพ้นของพระมหากษัตริย์ก็มีอยู่แต่ในทางทฤษฎี เพราะในทางปฏิบัติ พระราชอำนาจของพระองค์กลับถูกจำกัดลงด้วยคติธรรมในการปกครอง ซึ่งอิงหลักธรรมของพุทธศาสนา คือ ทศพิธราชธรรม กับอีกประการหนึ่ง คือ การถูกแบ่งพระราชอำนาจตามการจัดระเบียบควบคุมในระบบไพร่ ซึ่งถือกันว่า พระมหากษัตริย์คือมูลนายสูงสุดที่อยู่เหนือมูลนายทั้งปวง แต่ในทางปฏิบัติพระองค์ก็มิอาจจะควบคุมดูแลไพร่พลเป็นจำนวนมากได้ทั่วถึง จึงต้องแบ่งพระราชอำนาจในการบังคับบัญชากำลังคนให้กับมูลนายในระดับรองๆ ลงมา ในลักษณะเช่นนั้น มูลนายที่ได้รับมอบหมายให้กำกับไพร่และบริหารราชการแผ่นดินต่างพระเนตรพระกรรณ จึงเป็นกลุ่มอำนาจมีอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งกลุ่มใดจะมีอำนาจเหนือกลุ่มใดก็แล้วแต่สภาพแวดล้อมของสังคมในขณะนั้นเป็นสำคัญ

การปกครองและการบริหารประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กล่าวได้ว่า รูปแบบของการปกครอง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ยังคงยึดตามแบบฉบับที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงวางระเบียบไว้ จะมีการเปลี่ยนแปลงก็เพียงเล็กน้อย เช่น ในสมัยรัชกาลที่ ๑ โปรดฯ ให้คืนเขตการปกครองในหัวเมืองภาคใต้กลับให้สมุหกลาโหมตามเดิม ส่วนสมุหนายกให้ปกครองหัวเมืองทางเหนือ ส่วนพระคลังดูแลหัวเมืองชายทะเล ในด้านระบบการบริหาร ก็ยังคงมีอัครมหาเสนาบดี ๒ ฝ่าย คือ สมุหนายกเป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ และสมุหกลาโหม เป็นหัวหน้าราชการฝ่ายทหาร ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ ตำแหน่งรองลงมาคือ เสนาบดีจตุสดมภ์ แบ่งตามชื่อกรมที่มีอยู่คือ เวียง วัง คลังและ นา ในบรรดาเสนาทั้ง ๔ กรมนี้ เสนาบดีกรมคลังจะมีบทบาทและภาระหน้าที่มากที่สุด คือนอกจากจะบริหารการคลังของประเทศแล้ว ยังมีหน้าที่ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลตะวันออก เสนาบดีทั้งหลายมีอำนาจสั่งการภายในเขตความรับผิดชอบของตน รูปแบบที่ถือปฏิบัติก็คือ ส่งคำสั่งและรับรายงานจากเมืองในสังกัดของตน ถ้ามีเรื่องร้ายที่เกิดขึ้น เสนาบดีเจ้าสังกัดจะเป็นแม่ทัพออกไปจัดการเรื่องต่างๆ ให้เรียบร้อย มีศาลของตัวเองและสิทธิในการเก็บภาษีอากรในดินแดนสังกัดของตน รวมทั้งดูแลการลักเลขทะเบียนกำลังคนในสังกัดด้วย

การบริหารในระดับต่ำลงมา อาศัยรูปแบบการปกครองคนในระบบไพร่ คือ แบ่งฝ่ายงานออกเป็นกรมกองต่างๆ แต่ละกรมกอง มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการควบคุมกำลังคนในสังกัดของตน โครงสร้างของแต่ละกรม ประกอบด้วยขุนนางข้าราชการอย่างน้อย ๓ ตำแหน่ง คือ เจ้ากรม ปลัดกรม และสมุห์บัญชี กรมมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก กรมใหญ่มักเป็นกรมสำคัญ เจ้ากรมมีบรรดาศักดิ์ถึงขนาดเจ้าพระยาหรือพระยา

กรมของเจ้านายที่มีความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ กรมของพระมหาอุปราช ซึ่งเรียกกันว่า กรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมของพระองค์มีไพร่พลขึ้นสังกัดมาก กรมของเจ้านายมิได้ทำหน้าที่บริหารราชการโดยตรง ถือเป็นกรมที่ควบคุมกำลังคนเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้น การแต่งตั้งเจ้านายขึ้นทรงกรมจึงเป็นการให้ทั้งความสำคัญ เกียรติยศ และความมั่นคงเพราะไพร่พลในครอบครองเป็นเครื่องหมายแสดงถึงอำนาจและความมั่งคั่งของมูลนายผู้เป็นเจ้าของการบริหารราชการส่วนกลาง มีพระมหากษัตริย์เป็นมูลนายระดับสูงสุด เจ้านายกับขุนนางข้าราชการผู้บังคับบัญชากรมต่างๆ ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ฐานะเป็นมูลนายในระดับสูง ช่วยบริหารราชการ โดยมีนายหมวด นายกอง เป็นมูลนายระดับล่างอยู่ใต้บังคับบัญชา และทำหน้าที่ควบคุมไพร่อีกต่อหนึ่ง การสั่งราชการจะผ่านลำดับชั้นของมูลนายลงมาจนถึงไพร่

สำหรับการปกครองในส่วนภูมิภาคหรือการปกครองหัวเมือง ขึ้นอยู่กับอัครมหาเสนาบดี ๒ ท่าน และเสนาบดีคลัง ดังได้กล่าวไว้ข้างต้น หัวเมืองแบ่งออกเป็นสองชั้นใหญ่ๆ ได้แก่ หัวเมืองชั้นในและหัวเมืองชั้นอก การแบ่งหัวเมืองยังมีอีกวิธีหนึ่ง โดยแบ่งออกเป็น ๔ ขั้น คือ เอก โท ตรี จัตวา ตามความสำคัญทางยุทธศาสตร์และราษฎรหัวเมืองชั้นใน เป็นหน่วยปกครองที่อยู่ใกล้เมืองหลวง มีเจ้าเมืองหรือผู้รั้ง ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าปกครองดูแลหัวเมืองชั้นนอก มีทั้งหัวเมืองใหญ่ หัวเมืองรอง และหัวเมืองชายแดน หัวเมืองเหล่านี้ อยู่ใต้การปกครองของเจ้าเมือง และข้าราชการในเมืองนั้นๆ

นโยบายที่ใช้ในการปกครองหัวเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความกระชับยิ่งขึ้น กล่าวคือ รัชกาลที่ ๑ ได้ทรงออกพระราชกำหนดตัดทอนอำนาจเจ้าเมืองในการแต่งตั้งข้าราชการที่สำคัญๆ ทุกตำแหน่ง โดยโอนอำนาจการแต่งตั้งจากกรมเมืองในเมืองหลวง นับเป็นการขยายอำนาจของส่วนกลาง โดยอาศัยการสร้างความจงรักภักดีให้เกิดขึ้นกับเจ้านายทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งเจ้าเมือง และข้าราชการที่แต่งตั้งตนในส่วนกลาง ตำแหน่งต่างๆ เหล่านี้ต้องรายงานตัวต่อผู้ตั้งทุกปี ทั้งนี้เพื่อผลในการควบคุมไพร่พลและเกณฑ์ไพร่มาใช้ เพราะฉะนั้น มูลนายในเมืองหลวงจึงได้ควบคุมสัสดีต่างจังหวัดอย่างใกล้ชิด

ส่วนการปกครองในประเทศราช เช่น ลาว เขมร มลายู นั้น ไทยใช้วิธีปกครองโดยทางอ้อม ส่วนใหญ่จะปลูกฝังความนิยมไทยลงในความรู้สึกของเจ้านายเมืองขึ้น โดยการนำเจ้านายจากประเทศราชมาอบรมเลี้ยงดูในฐานะพระราชบุตรบุญธรรมของพระมหากษัตริย์ในราชสำนักไทยหรือสนับสนุนให้มีการแต่งงานกันระหว่างเจ้านายทั้งสองฝ่าย และภายหลังก็ส่งเจ้านายพระองค์นั้นไปปกครองเมืองประเทศราช ด้วยวิธีนี้ จึงทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันกันขึ้นระหว่างกษัตริย์ไทยกับเจ้านายเมืองขึ้น การปกครอง หรือการขยายอำนาจอิทธิพลในอาณาจักรต่างๆ เหล่านี้ ฝ่ายไทยและประเทศราชไม่มีการทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ขึ้นกับอำนาจความมั่นคงของราชอาณาจักรไทย เพราะฉะนั้น ในช่วงใดที่ประเทศอ่อนแอ เมืองขึ้นก็อาจแข็งเมืองหรือหันไปหาแหล่งอำนาจใหม่ เพราะฉะนั้น เมื่ออำนาจตะวันออกแผ่อิทธิพลเข้ามาในดินแดนเอเซียอาคเนย์ ปัญหาเรื่องอิทธิพลในเขตแดนต่างๆ จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องเวลาทำความตกลงกัน

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินอย่างขนานใหญ่ ควบคู่ไปกับการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ก็เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป การปฏิรูปเศรษฐกิจ ก็ได้แก่ การปรับปรุงระบบบริหารงานคลังและภาษีอากร ส่วนการปฏิรูปสังคมก็ได้แก่ การเลิกทาส การปฏิรูปการศึกษา รวมทั้งการปรับปรุงการสื่อสาร และการคมนาคม เป็นต้น

สำหรับมูลเหตุสำคัญที่ผลักดันให้มีการปฏิรูปการปกครอง มีอยู่ ๒ ประการ คือ
๑.มูลเหตุภายใน ทรงพิจารณาเห็นว่าการปกครองแบบเดิมไม่เหมาะสมกับสภาพทางการปกครองและทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ประเทศไทยมีประชากรเพิ่มขึ้น การคมนมคมและการติดต่อสื่อสารเริ่มมีความทันสมัยมากขึ้น การปกครองแบบเดิมจะมีผลทำให้ประเทศชาติขาดเอกภาพในการปกครอง ขาดประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและพัฒนาได้ยาก
๒.มูลเหตุภายนอก ทรงพิจารณาเห็นว่า หากไม่ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินย่อมจะเป็นอันตรายต่อเอกราชของชาติ เพราะขณะนั้น จักวรรดินิยมตะวันตก ได้เข้ามาแสวงหาอาณานิคมในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนั้น แต่เดิมเราต้องยินยอมให้ประเทศตะวันตกหลายประเทศมีสิทธิภาพนอกอาณาเขตคือ สามารถตั้งศาลกงสุลขึ้นมาพิจารณาความคนในบังคับของตนได้ โดยไม่ต้องอยู่ใต้การบังคับของศาลไทย เพราะอ้างว่า ศาลไทยล้าสมัย

ประวัติการปกครองของไทยสมัยกรุงธนบุรี

สังคมและวัฒนธรรมสมัยธนบุรี
1. สภาพสังคมชีวิตความเป็นอยู่ถือได้ว่ามีการควบคุมกันอย่างเข้มงวดเพราะบ้านเมืองตกอยู่ในสภาวะสงคราม ต้องสู้รบกับพม่าข้าศึกอยู่ตลอดเวลานอกจากนี้ยังมีการเกณฑ์พลเรือนเข้ารับราชการทั้งนี้เพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงและหลบหนีการเกณฑ์แรงาน
2. การฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมรัชสมัยของพระเจ้าตากแม้จะไม่ยาวนานนักแต่ก็ยังได้ฟื้นฟูปรับปรุงบ้านเมืองในด้านวัฒนธรรมอันมากที่สำคัญมีดังนี้
2.1 ด้านศาสนา พระเจ้าตากทรงมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระศาสนาอย่างมั่นคงทรงให้มีการชำระความบริสุทธิ์ของสงฆ์ทั้งหมดรูปใดที่ประพฤติไม่ดีให้ศึกออกไปพระองค์ทรงบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์ในการสร้างอุโบสถ และทรงคัดลอกพระไตรปิฎกที่นำมาจากวัดพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราชเมื่อปี 2312
2.2 ด้านศิลปวัฒนธรรม พระเจ้าตากทรงมีภารกิจมากมายโดยเฉพาะการสร้างบ้านเมืองการป้องกันประเทศ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ จึงทำให้ผลงานในด้านนี้จึงไม่เด่นชัด สาเหตุอีกประการหนึ่งก็คือ บรรดาช่างฝีมือและช่างศิลป์ถูกพม่ากวาดต้อนไปเป็นจำนวนมาก ช่างที่มีอยู่ก็เป็นช่างฝึกหัดไม่อาจเทียบเท่าช่างในอยุธยาได้ ผลงานที่มีคือ วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวรราม) และด้านก่อสร้างได้แก่ การสร้างพระราชวังป้อมปราการ เชิงเทิน ขาดความสวยงาม ส่วนทางด้าน วรรณกรรมมีผลงานสำคัญคือ รามเกียรติ์ เป็นต้น
2.3 ด้านนาฏศิลป์ มีการฟื้นฟูและเล่นฉลองในงานพิธีสำคัญตามแบบประเพณีสมัยอยุธยาดังเห็นได้จากพิธีสมโภชพระแก้วมรกตและพระบางซึ่งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้อันเชิญมาจากเวียงจันทร์เพื่อประดิษฐานที่กรุงธนบุรีซึ่งในครั้นนั้นมีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ใช้เวลา 7 วันมีการประชันการแสดงละคร การแสดงโขน การเล่นมโหรีพิณพาทย์ การเล่นบทดอกสร้อยสัดวาฯ
2.4 ด้านการศึกษา ในสมัยธนบุรียังคงอยู่ที่วัดเหมือนเมื่อสมัยอยุธยานั้นคือการเรียนที่วัดมีพระสอนหนังสือและยังคงใช้แบบเรียนจินดามณีซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องวิธีแต่งกาพย์กลอน ศึกษาศัพท์เขมร บาลีสันสฤตด้วยเพื่อประโยชน์ในการอ่านคัมภีร์พระพุทธศาสนา นอกนั้นก็เป็นวิชาเลขซึ่งนำใช้ในชีวิตประจำวัน สำหรับวิชาชีพพ่อแม่มีอาชีพอะไรก็ถ่ายทอดวิชานั้นให้แก่ลูกหลาน เช่น วิชาแพทย์โบราณ วิชาช่างปั้น ช่างถม ช่างแกะสลัก ช่างปั้นปูน ช่างเหล็กฯ ส่วนเด็กหญิงถือตามประเพณีโบราณคือ การเย็บปักถักร้อย ทำกับข้าว และการฝึกอบรมมารยาทของกุลสตรี สมัยนั้นไม่นิยมให้ผู้หญิงเรียนหนังสือจึงมีน้อยคนนักที่อ่านออกเขียนได้

การเมืองการปกครองและพัฒนาการด้านต่าง ๆ สมัยกรุงธนบุรีก่อนกรุงศรีอยุธยาแตกใน พ.ศ. ๒๓๑๐ สมเด็จพระเจ้าตาก (สิน) ซึ่งขณะนั้นยังเป็นพระยาวชิรปราการตีฝ่าวงล้อมพม่าเดินมุ่งหน้าไปทางหัวเมืองชายทะเลตะวันออก และได้รวมผู้คนที่อยู่ในบริเวณนี้ตั้งเป็นชุมนุมโดยยึดเมืองจันทบุรีเป็นฐานทัพ ให้ต่อเรือเตรียมไว้ จนกระทั่งเมื่อสิ้นฤดูมรสุม สมเด็จพระเจ้าตา (สิน) จึงเข้าโจมตีค่ายพม่าที่ธนบุรีและค่ายโพธิ์สามต้นที่อยุธยา และสามารถยึดค่ายนี้ได้ในวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๑๐ การที่สมเด็จพระเจ้าตากสินสามารถยึดธนบุรี และกรุงศรีอยุธยา คืนจากพม่าได้ ทำให้พระองค์มีความชอบธรรมในการสถาปนาพระองค์เองเป็นพระมหากษัตริย์ จึงได้ทรงสถาปนาธนบุรีขึ้นเป็นราชธานีในปีเดียวกัน

การสถาปนาธนบุรีเป็นราชธานีเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสามารถกู้เอกสารของชาติได้แล้ว ปัญหาสำคัญของไทยในขณะนั้นคือ การป้องกันตนเองให้พ้นจากการโจมตีโดยพม่า และหาอาหารให้พอเลี้ยงผู้คนที่มีชีวิตรอดจากสงคราม แต่สภาพอยุธยาอยุธยาขณะนั้นไม่อาจบูรณะฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็วด้วยกำลังคนเพียงเล็กน้อย อีกทั้งพม่าได้รู้ลู่ทางและจุดอ่อนของอยุธยาเป็นอย่างดีแล้ว ดังนั้นพระองค์จำเป็นที่จะต้องหาชัยภูมิที่เหมาะ ในการสถาปนาราชธานีแห่งใหม่คือ กรุงที่ได้รับพระราชทานนามว่า “กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร”กรุงธนบุรีตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองบางกอกเดิมซึ่งในสมัยอยุธยา เมืองบางกอกมีฐานะเป็น “เมืองท่าหน้าด่าน” คือ เป็นที่จอดเรือสินค้า และเป็นเมืองหน้าด่านทำหน้าที่ป้องกันข้าศึกษาที่ยกทัพเข้ามาทางปากน้ำเจ้าพระยารวมทั้งตรวจตราเก็บภาษีเรือและสินค้าที่ขึ้นล่องตามลำน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง บางกอกจึงมีป้อมปราการ และ มีด่านภาษีเป็นด่านใหญ่ที่เรียกว่า ขนอนบางกอก เมืองบางกอกจึงมีชุมชนชาวต่างชาติ เช่น ชุมชนชาว จีน อินเดียมุสลิม ที่เดินทางมาติดต่อค้าขายและเป็นทางผ่านของนักเดินทาง เช่น นักการทูต พ่อค้า นักการทหาร และนักบวชที่เผยแผ่ศาสนา รวมทั้งนักเผชิญโชคที่ต้องการเดินทางไปยังอยุธยาดังนั้นโดยพื้นฐานที่ตั้งของธนบุรีจึงอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์ของปากน้ำเจ้าพระยาและเป็นเมืองที่มีความสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจมาก่อนตลอดจนเป็นเมืองที่มีความปลอดภัย เพราะมีทั้งป้องปราการและแม่น้ำลำคลองที่ป้องกันไม่ให้ข้าศึกษาโจมตีได้โดยง่าย เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสถาปนาธนบุรีเป็นราชธานี พระองค์โปรดเกล้าให้สร้างพระราชวังเป็นที่ประทับ โดยสร้างพระราชวังชิดกับกำแพงเมืองทางใต้ มีอาณาเขตตั้งแต่ป้องวิชัยประสิทธิ์และวัดท้ายตลาดมาจนถึงวัดแจ้ง วัดทั้งสองจึงเป็นวัดในเขตพระราชฐาน สำหรับวัดแจ้งนั้นมีฐานะเป็นพระอารามหลวงสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงฟื้นฟูบ้านเมืองให้มีความเป็นปึกแผ่น โดยชักชวนให้ผู้คนที่หลบหนีสงครามกระจัดกระจายไปอยู่ตามที่ต่าง ๆ ให้กลับมาตั้งบ้านเรืองใหม่ พร้อมทั้งฟื้นฟูระบบระเบียบในการบริหารราชการแผ่นดินตามแบบสมัยอยุธยา

การปกครองหัวเมืองในสมัยธนบุรียศของผู้ปกครองเมือง
- การปกครองหัวเมืองชั้นใน
- การปกครองหัวเมืองชั้นนอก
- การปกครองเมืองประเทศราช
ผู้รั้งเมือง
เจ้าพระยา
ผู้ครองนคร

พัฒนาการด้านเศรษฐกิจในตอนต้นสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ภาวะทางเศรษฐกิจของไทยอยู่ในสภาพลำบาก เนื่องจากเกิดการขาดแคลนอาหารอย่างหนักทั้งนี้เพราะราษฎรมิได้ทำนาในระหว่างการศึกสงครามแม้ว่าภายหลังจากที่พระองค์กู้เอกราชได้แล้ว การทำนาก็ยังไม่ได้ผล เพราะฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ในการขจัดปัญหาเรื่องการขาดแคลนอาหารนั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า คือ ทรงรับซื้อข้าวจากพ่อค้าจากเรือสำเภาพัฒนาการด้านความสัมพันธ์กับต่างชาติขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นผู้นำ คนไทยร่วมแรงร่วมใจสร้างความเป็นเอกภาพให้กับบ้านเมืองอยู่นั้น คนไทยยังมีความกังวลที่จะรักษาชาติบ้านเมืองให้อยู่รอดปลอดภัย ดังนั้นความสัมพันธ์กับต่างชาติสมัยธนบุรี จึงมีลักษณะการทำสงครามตลอดสมัย ทั้งสงครามป้องกันอาณาจักรและขยายอาณาเขต ตลอดจนความสัมพันธ์ทางด้านสังคมสมัยธนบุรีคล้ายกับสังคมอยุธยา คือ โครงสร้างทางสังคมประกอบด้วยกลุ่มคนคือกลุ่มชนชั้นผู้ปกครอง ได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ และขุนนางกลุ่มชนชั้นที่ถูกปกครอง ได้แก่ ไพร่ ทาสกลุ่มชนชั้นพิเศษ ได้แก่ นักบวช เช่น พระสงฆ์ และพราหมณ์

วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วันวิสาขบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะหรือเดือน ๖ เนื่องในโอกาสคล้ายวันที่พระพุทธเจ้า ประสูติ - ตรัสรู้ - และเสด็จดับขันธปรินิพพาน ความสำคัญ พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพานเวียนมาบรรจบในวันและเดือนเดียวกัน คือ วันเพ็ญเดือนวิสาขะ จึงถือว่าเป็นวันที่สำคัญของพระพุทธเจ้า หลักธรรมอันเกี่ยวเนื่องจากการประสูติ ตรัสรู้และเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือ ความกตัญญู อริยสัจ ๔ และความไม่ประมาท ประวัติความเป็นมา


๑. ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา เนื่องจากมีเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๓ อย่าง เกิดขึ้นในวันเดียวกันคือ ประสูติ ตรัสรู้ธรรม และปรินิพพาน วันวิสาขบูชาตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ชาวพุทธศาสนิกชนทั่วโลกต่างให้ความสำคัญกับวันวิสาขบูชานี้ และเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒ สหประชาชาติได้ยอมรับญัตติที่ประชุม กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก และเป็นวันหยุดวันหนึ่งของสหประชาชาติ เพื่อให้ชาวพุทธทั่วโลกได้มีโอกาสบำเพ็ญบุญเนื่องในวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระบรมศาสดา เจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติเมื่อ ๒๖๐๐ กว่าปี ล่วงมาแล้ว พระบิดาพระนามว่าพระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดาพระนามว่าพระนางสิริมหามายา ก่อนที่พระองค์จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์เป็นเจ้าชายในราชสกุลโคตมะ แห่งเมืองกบิลพัสดุ์ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย คำว่า 'พุทธ' หรือ 'พุทธิ' ในภาษาบาลีและสันสกฤตมีความหมายเหมือนกัน แปลว่า ปัญญา หรือ การตรัสรู้ จากคำสอนในพระไตรปิฎกกล่าวว่า พระพุทธเจ้าคือผู้ที่ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงเป็นผู้รู้สัจจธรรม และทรงมีพระญาณทัศนะกว้างไกลที่พระองค์ทรงรู้เห็นกำเนิด และความเป็นไปของสัตว์โลกตลอดภพสาม มีพระพุทธเจ้านับไม่ถ้วนพระองค์ได้อุบัติขึ้นในโลกนี้ เมื่อแต่ละพระองค์ตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐแล้ว ทรงสั่งสอนธรรมะเพื่อให้ชาวโลกพ้นจากวัฏสงสารด้วยมหากรุณา จากพระไตรปิฏก "อปทานสูตร และพุทธวงศ์" กล่าวถึงการสร้างบารมีของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ นานนับอสงไขยกว่าที่จะบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ แม้ในขุททกนิกาย ชาดก ได้เล่าการสร้างบารมีถึง ๕๔๗ ชาติของพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ มาตลอดกว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในพระชาติสุดท้าย เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงเป็นผู้มีบุญที่เพียบพร้อมด้วยสติปัญญา และความเมตตา หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้เพียง ๗ วัน พระมารดาก็สวรรคต พระน้านางคือพระนางปชาบดีโคตมี เป็นผู้บำรุงเลี้ยงรักษา หลังจากประสูติได้ไม่นาน พระบิดาได้อัญเชิญอสิตดาบสมาทำนายอนาคตของเจ้าชายสิทธัตถะ อสิตดาบสแสดงอาการประหลาดต่อหน้าพระที่นั่งคือ หัวเราะและร้องไห้ หัวเราะเพราะดีใจที่ได้เห็นเจ้าชายสิทธัตถะ และได้ทำนายว่าเจ้าชายจะตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแน่นอน แต่ร้องไห้เพราะอสิตดาบสนั้นจะมีอายุไม่ยืนยาวทันรับฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ คำทำนายนี้ได้รับการยืนยันจาก โกณฑัญญะ ซึ่งเป็นดาบสอีกท่านหนึ่งที่ทำนายว่า เจ้าชายสิทธัตถะจะสละราชสมบัติ เมื่อผนวชแล้วจะบรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนดาบสอื่น ๆ ล้วนทำนายว่า ถ้าเจ้าชายสิทธัตถะไม่ทรงผนวช จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ คำทำนายดังกล่าวสร้างความตระหนกพระทัยแก่พระเจ้าสุทโธทนะเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ทรงปรารถนาจะให้เจ้าชายสิทธัตถะปกครองแว่นแคว้นสืบทอดราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์ และเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ จึงทรงป้องกันเจ้าชายสิทธัตถะไม่ให้เห็นความทุกข์ทรมาน ความเจ็บปวดต่าง ๆ ที่จะทำให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงรู้สึกเบื่อหน่าย และอยากออกบวช ด้วยเหตุนี้พระเจ้าสุทโธทนะ จึงทรงมีพระบัญชาให้เหล่าอำมาตย์เสนาบดี ช่วยกันสร้างปราสาทสามฤดูแก่เจ้าชาย ปราสาทแต่ละแห่งแวดล้อมด้วยเหล่าสนมกำนัลที่สวยงาม ชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะก่อนทรงออกผนวช จึงเป็นชีวิตที่เพียบพร้อมด้วย รูปสมบัติ และทรัพย์สมบัติอย่างแท้จริง. เมื่อเจ้าชายทรงพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา พระมเหสีคือพระนางยโสธรา พิมพาประสูติพระโอรส พระนามว่า ราหุล วันหนึ่งเจ้าชายสิทธัตถะได้ทรงรถม้าประพาสสวนนอกเมือง ทรงเห็นคนแก่ คนป่วย คนตาย และนักบวช ภาพคนแก่ คนป่วย และคนตายทำให้พระองค์นึกถึงความทุกข์ และความไม่เที่ยงแท้ของสังขารมนุษย์ ต่อมาเจ้าชายสิทธัตถะจึงทรงออกจากวัง ถือเพศเป็นนักบวชเที่ยวภิกขาจารไปเพื่อแสวงหาโมกขธรรม วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เมื่อมีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้ธรรม ณ ใต้ควงต้นพระศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนที่จะบรรลุธรรม เจ้าชายสิทธัตถะได้แสวงหาผู้สอนวิธีหลุดพ้นแก่พระองค์ ๒ คนคือ อาฬารดาบส และอุทกดาบส ซึ่งทั้งสองนี้สอนพระองค์ให้ได้ญานชั้นสูง แต่ไม่บรรลุธรรม เมื่อพระองค์บรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ทรงประกาศธรรม เผยแผ่คำสอนที่สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติตามพ้นทุกข์ตามพระองค์ไปได้ พระพุทธองค์ ทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นเวลา ๔๕ ปี ทรงวางรากฐานพระพุทธศาสนา และมีพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก ที่ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ ซึ่งในสมัยนั้นมีตั้งแต่ กษัตริย์ เจ้าชาย พ่อค้า แม่ค้า พราหมณ์ เศรษฐี ยาจกเข็ญใจ และชนทุกชั้นในสังคม
๒. การถือปฏิบัติวันวิสาขบูชาในประเทศไทย การประกอบพิธีวิสาขบูชาในเมืองไทยเริ่มทำมาแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะได้รับแบบอย่างมาจากลังกากล่าวคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๔๒๐ พระเจ้าภาติกราช กษัตริย์แห่งลังกาได้ประกอบพิธีสาขาบูชาอย่างมโหฬาร เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา กษัตริย์ ลังกาในรัชกาลต่อ ๆ มา ก็ทรงดำเนินรอยตาม แม้ปัจจุบันก็ยังถือปฏิบัติ ในสมัยสุโขทัยนั้น ประเทศไทยกับประเทศลังกา มีความสัมพันธ์กันทางด้านพระพุทธศาสนาอย่างใกล้ชิดมากเพราะพระสงฆ์ชาวลังกาได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และเชื่อว่าได้นำการประกอบพิธีวิสาขบูชาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย ในหนังสือนาง-นพมาศ ได้กล่าวถึงบรรยากาศการประกอบพิธี วิสาขบูชา สมัยสุโขทัย ไว้พอสรุปใจความได้ว่า "เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพารทั้งฝ่ายหน้าฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัย ทั่วทุกหมู่บ้านทุกตำบลต่างช่วยกันทำความสะอาด ประดับตกแต่งพระนครสุโขทัยเป็นการพิเศษด้วยดอกไม้ของหอมจุดประทีปโคมไฟแลดูสว่างไสวไปทั่วทั้งพระนคร เป็นการบูชาพระรัตนตรัยเป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน

พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีลและทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่าง ๆ ครั้นตกเวลาตอนเย็นก็เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรม-วงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้าฝ่ายใน เสด็จไปยังพระอารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน ส่วนชาวสุโขทัยต่างชวนกันรักษาศีล ฟังพระเทศนา ถวายสลากภัต ถวายสังฆทาน ถวายอาหารแด่พระภิกษุสามเณร บริจาคทรัพย์ แจกเป็นทานแก่คนยากจน คนกำพร้า คนอนาถา คนแก่และคนพิการบางพวกก็ชักชวนกันสละทรัพย์ซื้อสัตว์ ๔ เท้า ๒ เท้า และ เต่า ปลาเพื่อไถ่ชีวิตสัตว์ให้เป็นอิสระโดยเชื่อว่าจะทำให้ตนมีอายุยืนยาวต่อไป" ในสมัยอยุธยา
สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไม่ปรากฎหลักฐานว่าได้มีการประกอบพิธีวิสาขบูชา จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์จึงปรากฎหลักฐานในพระราชพงศาวดารว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธ-เลิศหล้านภาลัย มีพระราชประสงค์จะให้ฟื้นฟูการประกอบพระราชพิธีวันวิสาขบูชาขึ้นใหม่ ให้ปรากฎในแผ่นดินไทยต่อไปกับมีพระประสงค์ จะให้ประชาชนประกอบการบุญการกุศล เป็นหนทางเจริญอายุและอยู่เย็นเป็นสุขปราศจากทุกข์โศก โรคภัย และอุปัทวะอันตรายต่าง ๆ โดยทั่วกัน ฉะนั้นการประกอบพิธีในวันวิสาขบูชาในประเทศไทย จึงได้รื้อฟื้นให้มีขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ และถือปฏิบัติมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน


- หลักธรรมที่ควรปฏิบัติ -
๑. ความกตัญญู คือ ความรู้อุปการคุณที่มีผู้ทำไว้ก่อนเป็นคุณธรรมคู่กับ ความกตเวที คือ การตอบแทนอุปการะคุณที่ผู้อื่นทำไว้นั้นผู้ที่ทำอุปการรคุณก่อนเรียกว่า บุพการี ขอยกมากล่าวในที่นี้คือ บิดามารดา และครูอาจารย์ บิดามารดา มีอุปการะคุณแก่บุตร ธิดา ในฐานะเป็นผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูจนเติบใหญ่ ให้การศึกษา อบรมสั่งสอน ให้ละเว้นจากความชั่ว มั่นคงในการทำความดี เมื่อถึงคราวมีคู่ครองได้จัดหาคู่ครอบที่เหมาะสมให้และมอบทรัพย์สมบัติให้ไว้เป็นมรดก บุตร ธิดา เมื่อรู้อุปการะคุณที่บิดามารดาทำไว้ย่อมตอบแทนด้วยการประพฤติตัวดี สร้างชื่อเสียงให้แก่วงศ์ตระกูล เลี้ยงดูท่าน และช่วยทำงานของท่าน และเมื่อล่วงลับไปแล้วก็ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ท่าน ครูอาจารย์ มีอุปการะคุณแก่ศิษย์ในฐานะเป็นผู้ประสาทความรู้ให้ ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดีสอนศิลปวิทยาให้อย่างไม่ปิดบัง ยกย่องให้ปรากฎแก่คนอื่นและช่วยคุ้มครองศิษย์ทั้งหลาย ศิษย์เมื่อรู้อุปการคุณที่ครูอาจารย์ทำไว้ย่อมตอบแทนด้วยการตั้งใจเรียน ให้เกียรติ และให้ความเคารพไม่ล่วงละเมิดโอวาทของครู ความกตัญญูและความกตเวทีนี้ถือว่าเป็นเครื่องหมายของคนดีส่งผลให้ครอบครัวและสังคมมีความสุขได้ เพราะบิดามารดาจะรู้จักหน้าที่ของตนเองด้วยการทำอุปการคุณให้ก่อน และบุตร ธิดา ก็จะรู้จัก หน้าที่ของตนเองด้วยการทำดีตอบแทน สำหรับครูอาจารย์ก็จะรู้จักหน้าที่ของตนเองด้วยการทำอุปการคุณ คือ สอนศิลปวิทยาอย่างเต็มที่และศิษย์ก็จะรู้จักหน้าที่ของตนเอง ด้วยการตั้งใจเรียน และให้ความเคารพเป็นการตอบแทน นอกจากจะใช้ในกรณีของบิดามารดากับบุตรธิดา และครูอาจารย์กับศิษย์แล้ว คุณธรรมข้อนี้ก็สามารถนำไปใช้ได้แม้ระหว่าง พระมหากษัตริย์กับพสกนิกร นายจ้างกับลูกจ้าง เพื่อนกับเพื่อนและบุคคลทั่วไป รวมทั้งมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ในทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงเป็นบุพการีในฐานะที่ทรงสถาปนาพระพุทธศาสนาและทรงสอนทางพ้นทุกข์ให้แก่เวไนย-สัตว์ พุทธศาสนิกชน รู้พระคุณอันนี้ จึงตอบแทนด้วยอามิสบูชา และปฏิบัติบูชา กล่าวคือ การจัดกิจกรรมในวันวิสาขบูชา เป็นส่วนหนึ่งที่ชาวพุทธแสดงออก ซึ่งความกตัญญูกตเวทีต่อพระองค์ ด้วยการทำนุบำรุงส่งเสริม พระพุทธศาสนา และประพฤติปฏิบัติธรรม เพื่อดำรงอายุพระพุทธศาสนาสืบไป
๒. อริยสัจ ๔ อริยสัจ คือ ความจริงอันประเสริฐ หมายถึง ความจริงที่ไม่ผันแปร เกิดมีได้แก่ทุกคนมี ๔ ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิต พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า มนุษย์ทุกคนมีทุกข์เหมือนกันทั้งทุกข์ขั้นพื้นฐานและทุกข์เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ทุกข์ขั้นพื้นฐาน คือ ทุกข์ที่เกิดจากการเกิด การแก่ และการตาย ส่วนทุกข์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวันคือ ทุกข์ที่เกิดจากการพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ทุกข์ที่เกิดจากการประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ทุกข์ที่เกิดจากการไม่ได้ตามใจปรารถนา รวมทั้งทุกข์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตด้านต่าง ๆ สมุทัย คือ เหตุแห่งปัญหา พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า ทุกข์ทั้งหมด ซึ่งเป็นปัญหาของชีวิตล้วนมีเหตุให้เกิด เหตุนั้น คือ ตัณหา อันได้แก่ ความอยากได้ต่าง ๆ ซึ่งประกอบไปด้วย ความยึดมั่น นิโรธ คือ การแก้ปัญหาได้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า ทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิตทั้งหมดนั้นแก้ไขได้ โดยการดับตัณหา คือ ความอยากให้หมดสิ้น มรรค คือ ทางหรือวิธีแก้ปัญหา พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็ เพื่อให้ทราบว่า ทุกข์คือปัญหาของชีวิตทั้งหมดที่สามารถแก้ไขได้นั้นต้องแก้ไขตามมรรคมีองค์ ๘
๓. ความไม่ประมาท ความไม่ประมาท คือ การมีสติทั้งขณะทำ ขณะพูดและขณะคิด สติ คือ การระลึกรู้ทัน ที่คิด พูดและทำ ในภาคปฏิบัติเพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน หมายถึงการระลึกรู้ทันการเคลื่อนไหวอิริยาบถ

๔ คือ เดิน ยืน นั่ง นอน . การฝึกให้เกิดสติ ทำได้โดยตั้งสติกำหนดการเคลื่อนไหวอิริยาบถกล่าวคือ ระลึกรู้ทันในขณะยืน เดิน นั่งและนอน รวมทั้งระลึกรู้ทันในขณะพูดขณะคิด และขณะทำงานต่าง ๆ ในวันนี้พุทธศาสนิกชนต่างพากันน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยการไปชุมนุมตามพระอารามต่าง ๆ เพื่อกระทำการบูชาปูชนียวัตถุอันได้แก่ พระธาตุเจดีย์หรือพระพุทธปฏิมา ที่เป็นพระประธานในพระอุโบสถอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยเครื่องบูชามีดอกไม้ ธูปเทียน เป็นต้น เริ่มด้วยการสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย ด้วยบทสวดมนต์ตามลำดับดังนี้คือ .
บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ" อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปนโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ. บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ สวากขาโต ภะคะวา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ. บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสสะ ยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระนีโย อะนุตตะรัง ปุญญะเขตตัง โลกัสสาติ.


จากนั้นก็จะกระทำ ประทักษิณ หรือที่เรียกว่า เวียนเทียน รอบพระธาตุเจดีย์ หรือพระพุทธปฎิมาในพระอุโบสถ ด้วยการเดินเวียนขวาสามรอบ รอบแรกจะสวดบทสรรเสริญพระพุทธคุณ รอบที่สองจะสวดบทสรรเสริญพระธรรมคุณ และรอบที่สามสวดบทสรรเสริญพระสังฆคุณ เมื่อครบ 3 รอบแล้วจึงนำดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระธาตุเจดีย์ หรือพระพุทธรูปในพระอุโบสถ ณ ที่บูชาอันควรเป็นอันเสร็จพิธีเวียนเทียน จากนั้นก็จะมีการแสดงพระธรรมเทศนาในพระอุโบสถ ซึ่งปกติจะมีเทศน์ ปฐมสมโพธิ ซึ่งเป็นเรื่องพระพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน พิธีเริ่มตั้งแต่ประชุมฟังพระทำวัตรสวดมนต์ แล้วจึงฟังเทศน์ซึ่งจะมีไปตลอดรุ่ง วันวิสาขบูชาจึงเป็นวันที่พุทธศาสนิกชน ได้บำเพ็ญประโยชน์ตน และสืบต่อพระพุทธศาสนา ให้ดำรงคงอยู่อย่างถูกต้องตรงทาง เพื่อประโยชน์สุขของตนและของผู้อื่นตลอดชั่วกาลนาน.

วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การเมืองการปกครองสมัยอยุธยา

การเมืองการปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น
1. การปกครองส่วนกลาง
พระมหากษัตริย์ ปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง คือจตุสดมภ์
จตุสดมภ์ แบ่งเป็น
กรมเวียง - มี ขุนเวียง เป็นผู้ดูแล มีหน้าที่ รักษาความสงบสุขของราษฏร
กรมวัง - มี ขุนวัง เป็นผู้ดูแล เป็นหัวหน้าฝ่าย ราชสำนักการพิจารณาพิพากษาคดี
กรมคลัง - มี ขุนคลัง เป็นผู้ดูแล มีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของแผ่นดินที่ได้จากการเก็บส่วยอากร
กรมนา - มี ขุนนา เป็นเจ้าหน้าที่ดูแลการทำไร่ นา และสะสมเสบียงอาหารของ พระนคร

2. การปกครองหัวเมือง
อยุธยาเป็นเมืองหลวง เป็นจุดของศูนย์รวมอำนาจการปกครอง ล้อมรอบด้วยเมืองลูกหลวง ประกอบด้วย ทิศเหนือ เมืองลพบุรี ทิศตะวันออก เมือง นครนายก ทิศใต้ เมือง นครเขื่อนขันธ์ และทิศตะวันตก เมือง สุพรรณบุรี
ถัดออกมาคือ หัวเมืองชั้นใน ได้แก่ สิงห์บุรี ปราจีนบุรี ชลบุรี และเพชรบุรี และเมืองประเทศราช เช่น เมือง นครศรีธรรมราชและเมืองพิษณุโลก

การปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง 1991 - 2231
การปกครองเริ่มตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นต้นมา หลังจากที่ได้ผนวกเอาอาณาจักรสุโขทัยมาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา โดยมีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ
1. จัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง
2. แยกกิจการฝ่ายพลเรือนกับฝ่ายทหารออกจากกัน


การปกครองส่วนกลาง
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดฯให้มีตำแหน่งสมุหกลาโหมรับผิดชอบด้านการทหาร นอกจากนี้ยังได้ทรงตั้งหน่วยงานเพิ่มขึ้นมา อีก 2 กรม คือ
กรมมหาดไทย มีพระยาจักรีศรีองครักษ์เป็นสมุหนายก มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการพลเรือนทั่วประเทศ
กรมกลาโหม มีพระยามหาเสนาเป็นสมุหพระกลาโหม มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการทหารทั่วประเทศ
นอกจากนี้ใน 4 กรมจตุสดมภ์ที่มีอยู่แล้ว ทรงให้มีการปรับปรุงเสียใหม่ โดยตั้งเสนาบดีขึ้นมาควบคุมและรับผิดชอบในแต่ละกรมคือ
กรมเมือง (เวียง) มีพระนครบาลเป็นเสนาบดี
กรมวัง มีพระธรรมาธิกรณ์เป็นเสนาบดี
กรมคลัง มีพระโกษาธิบดีเป็นเสนาบดี
กรมนา มีพระเกษตราธิการเป็นเสนาบดี

การปกครองส่วนภูมิภาค
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงยกเลิกการปกครองแบบเดิมทั้งหมด แล้วจัดระบบใหม่ดังนี้
1 .) หัวเมืองชั้นใน ยกเลิกเมืองหน้าด่านแล้วเปลี่ยนเป็นเมืองชั้นใน มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ผู้ปกครองเมืองเหล่านี้เรียกว่า ผู้รั้ง พระมหากษัตริย์จะเป็นผู้แต่งตั้งขุนนางในกรุงศรีอยุธยา ทำหน้าที่ผู้รั้งเมือง ต้องรับคำสั่งจากในราชธานีไปปฏิบัติเท่านั้นไม่มีอำนาจในการปกครองโดยตรง
2) หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร) เป็นหัวเมืองที่อยู่ภายนอกราชธานีออกไป จัดเป็นหัวเมืองชั้นตรี โท เอก ตามขนาดและความสำคัญของหัวเมืองนั้น เมืองเหล่านี้มีฐานะเดียวกันกับหัวเมืองชั้นใน คือขึ้นอยู่ในการปกครองจากราชธานีเท่านั้น
3) หัวเมืองประเทศราช ยังให้มีการปกครองเหมือนเดิม มีแบบแผนขนบธรรมเนียมเป็นของตนเอง มีเจ้าเมืองเป็นคนในท้องถิ่นนั้น ส่วนกลางจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในด้านการปกครอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย

การปกครองส่วนท้องถิ่น แบ่งการปกครองเป็นหน่วยย่อย โดยแบ่งเป็น
1) บ้าน หรือหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้าน มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นหัวหน้า จากการเลือกตั้งจากหลายบ้าน
2) ตำบล เกิดจากหลายๆ หมู่บ้านรวมกันมีกำนันเป็นหัวหน้ามีบรรดาศักดิ์เป็น พัน
3) แขวง เกิดจากหลายๆ ตำบลรวมกัน มีหมื่นแขวงเป็นผู้ปกครอง
4) เมือง เกิดจากหลายๆ แขวงรวมกัน มีผู้รั้งหรือพระยามหานครเป็นผู้ปกครอง

ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้มีการปรับปรุงระเบียบการปกครองทางด้านการทหาร ได้แก่
1. การจัดทำสารบัญชี (หรือสารบาญชี) เพื่อให้ทราบว่ามีกำลังไพร่พลมากน้อยเพียงใด
2. สร้างตำราพิชัยสงคราม ซึ่งเป็นตำราที่ว่าด้วยการจัดทัพ การเดินทัพ การตั้งค่าย การจู่โจมและการตั้งรับ ส่วนหนึ่งของตำราได้มาจากทหารอาสาชาวโปรตุเกส
3. การทำพิธีทุกหัวเมือง ซักซ้อมความพร้อมเพรียงเพื่อสำรวจจำนวนไพร่พล (คล้ายกับพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพลในปัจจุบัน)


การปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย
สมัยอยุธยาตอนปลาย เริ่มในสมัยพระเพทราชา สมัยนี้ยึดการปกครองแบบที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปรับปรุงแต่ได้แบ่งแยกอำนาจสมุหกลาโหมและสมุหนายกเสียใหม่ คือ
สมุหกลาโหม - ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งหมดทั้งที่เป็นฝ่ายทหารและพลเรือน
สมุหนายก - ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมดที่เป็นฝ่ายทหารและพลเรือนรูปแบบการปกครอง ของอยุธยาใช้เรื่อยมาจนถึงรัชกาลที่ 5 จึงได้มีการปฏิรูปการปกครองเสียใหม่
ได้แยกกิจการฝ่ายทหารและพลเรือนออกจากกัน แต่การกำหนดอำนาจบังคับบัญชาดูแลกิจการทั้งสองฝ่ายตามเขตพื้นที่ ซึ่งเป็นการถ่วงดุลอำนาจของขุนนางด้วยกัน เพื่อจะได้ไม่เป็นภัยต่อราชบัลลังก์และแบ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายต่างๆ ดังนี้

- หัวเมืองฝ่ายเหนือ ขึ้นตรงต่อสมุหนายก
- หัวเมืองฝ่ายใต้ ขึ้นตรงต่อสมุหพระกลาโหม
- หัวเมืองชายทะเลตะวันออก ขึ้นตรงต่อเสนาบดีกรมคลัง
แบบฝึกหัดท้ายบท
คิดดีๆนะคับบบบ ^^
_____________________________________________

วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การปกครองสมัยสุโขทัย

การปกครองสมัยสุโขทัย
อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราชมีอาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็น และภูเขาพนมดรัก ทิศตะวันตกจรดเมืองหงสาวดี ทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์ อาณาจักรสุโขทัย เสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัยแก่ พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปีพศ.1921 และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติดต่อกันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981

ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัย
แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น และการปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย ดังต่อไปนี้

1. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น เมื่อขอมปกครองสุโขทัยใช้ระบบการปกครองแบบ นายปกครองบ่าว เมื่อสถาปนากรุงสุโขทัยขึ้นใหม่ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงจัดการปกครองใหม่เป็นแบบ บิดาปกครองบุตร หรือ พ่อปกครองลูก หรือ ปิตุลาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ

1. รูปแบบราชาธิปไตย หมายถึง พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงใช้อำนาจสูงสุดที่เรียกว่า อำนาจอธิปไตย
2. รูปแบบบิดาปกครองบุตร หมายถึง พระมหากษัตริย์ ทรงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนมาก จึงเปรียบเสมือนเป็นหัวหน้าครอบครัว หรือ พ่อ จึงมักมีคำนำหน้าพระนามว่า พ่อขุน
3. ลักษณะลดหลั่นกันลงมาเป็นขั้น ๆ เริ่มจากหลายครอบครัวรวมกันเป็นบ้าน มี พ่อบ้าน เป็นผู้ปกครอง หลายบ้านรวมกันเป็นเมือง มี พ่อเมือง เป็นผู้ปกครอง หลายเมืองรวมกันเป็นประเทศ มี พ่อขุน เป็นผู้ปกครอง
4. การยึดหลักธรรมในพุทธศาสนาในการบริหารบ้านเมือง



2. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย การปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมลง เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคง เกิดความรำส่ำระสาย เมืองต่าง ๆ แยกตัวเป็นอิสระ พระมหาธรรมราชาที่ 1 จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา และทรงปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่างแก่ราษฏรเพือ่ให้ราษฎรเลื่อมใสศรัทธาในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา สร้างความสามัคคีในบ้านเมือง ลักษณะการปกครองสุโขทัยตอนปลายจึงเป็นแบบ ธรรมราชา ดังนั้นจึงนับได้ว่าพระองค์ธรรมราชาพระองค์แรก และพระมหากษัตริย์องค์ต่อมาทรงพระนามว่า พระมหาธรรมราชาทุกพระองค์

การปกครองสมัยสุโขทัย
การเมืองการปกครอง สมัยสุโขทัย แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. การปกครองแบบพ่อปกครองลูก เป็นลักษณะเด่นอขงการปกครองตนเองในสมัยสุโขทัย การปกครองลักษณะนี้ พระมหากษัตริย์เปรียบเหมือนพ่อของประชาชน และปลูกฝังความรู้สึกผูกพันระหว่างญาติมิตร การปกครองเช่นนี้เด่นชัดมากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
2. การปกครองแบบธรรมราชาหรือธรรมาธิปไตย ลักษณะการปกครองทรงยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และต้องเผยแพร่ธรรมะ สู่ประชาชนด้วย การปกครองแบบธรรมราชานั้นเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 พระองค์ทรงออกบวชและศึกษาหลักธรรมอย่างแตกฉาน นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเตภูมิกถา (ไตรภูมิพระร่วง) ไว้ให้ประชาชนศึกษาอีกด้วย
3. ทรงปกครองโดยยึดหลักสิทธิเสรีภาพ เป็นการปกครองที่พระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด แต่ให้มีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ ตามความถนัดเป็นต้น การปกครองของอาณาจักรสุโขทัย แบ่งการปกครองออกเป็น





1. เมืองหลวง หรือราชธานี เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระราชวังและวัดจำนวนมาก ตั่งอยู่ในและนอกกำแพงเมือง ราชธานีเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง การศาสนา วัฒนธรรม ศิลปะและขนบประเพณี พระมหากษัตริย์ทางเป็นผู้ปกครองเอง
2. เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่าน ตั้งอยู่รอบราชธานีห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้าประมาณ 2 วัน ได้แก่ เมืองศรีสัชนาลัย เมืองสองแคว เมืองสระหลวง เมืองชากังราว เมืองลูกหลวงเป็นเมืองที่เจ้านายเชื้อพระวงศ์ได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์


http://quickr.me/Mb0gQJx
^
^

แบบฝึกหัด หัดทำ