วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ทรงเป็นบุคคลผู้มีความรู้ความสามารถ และมีน้ำพระทัยอันดีงาม ทำให้ทรงเป็นเจ้านายที่เป็นที่รักของประชาชนอีกพระองค์หนึ่ง อีกทั้งด้วยคุณประโยชน์อย่างมหาศาลที่ทรงสร้างให้กับกองทัพเรือไทย ทำให้ทรงได้รับการยกย่องให้เป็น “พระบิดาแห่งราชนาวีไทย” แม้ว่าในปัจจุบันนี้พระองค์จะทรงสิ้นพระชนม์ไปแล้ว แต่ก็ยังทรงเป็นที่รักของประชาราษฎร์อยู่เสมอ โดยประชาชนทั่วไปมักเรียกพระองค์ว่า “เสด็จเตี่ย” โดยเฉพาะทหารเรือและชาวบ้านที่อยู่ตามหัวเมืองชายฝั่งทะเลต่งก็นิยมตั้งศาลหรือพระบรมราชนุสาวรีย์ของพระองค์ขึ้นเพื่อเป็นสถานที่สักการบูชา และเป็นสิริมงคลสำหรับชาวเรือ ด้วยเชื่อว่าเมื่อออกทะเลคราวใด วิญญาณของพระองค์จะปกปักษ์รักษาเรือให้เดินทางกลับมาโดยสัวสดิภาพ
กรมหลวงชุมพรเชตอุดมศักดิ์ทรงมีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ ประสูติเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวามคม พ.ศ. ๒๔๒๓ ณ สวนศิวาลัย ในพระบรมมหาราชวัง ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ ๒๘ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระองค์แรกในเจ้าจอมมารดาโหมด ซึ่งเป็นธิดาในพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์มีพระขนิษฐาและพระอนุชาร่วมพระอุทรอีก ๒ พระองค์ ได้แก่ พระองค์เจ้าหญิงอรองค์อรรคยุพา สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ และพระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธ์ สิ้นพระชนม์หลังจากได้รับบรรดาศักดิ์เป็นกรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส
กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ทรงได้รับการศึกษาขั้นต้นในวิชาภาษาไทยจากพระยาอิศรพันธ์โสภณ (หนุ อิศรางกูร) ส่วนภาษาอังกฤษทรงศึกษากับนายโมแรนท์ หลังจากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๓๖ ขณะที่ทรงมีพระชนมายุได้ ๑๓ พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมชนกนาถโปรดให้เสด็จไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษพร้อมกับพระอนุชาธิราช พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ซึ่งขณะนั้นยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราวุธ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ได้ทรงเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายเรือ ซึ่งถือว่าเป็นชาวไทยพระองค์แรกที่ทรงไปศึกษาวิชาทหารเรือในประเทศอังกฤษ ท่านทรงประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษเป็นเวลานาน ๖ ปี จนสำเร็จการศึกษาในระดับนายเรือ ระหว่างที่ประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ไม่เพียงแต่ศึกษาวิชาการทหารเรือเท่านั้น พระองค์ได้เข้าประจำการในราชนาวีอังกฤษอีกด้วย
เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์จบการศึกษาแล้ว จึงเสด็จกลับประเทศไทยในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๒ จากนั้นทรงเข้ารับราชการในกองทัพเรือไทย ในตำแหน่งผู้บังคับการเรือมรุธาวสิตสวัสดิ์ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ พระบรมชนกนาถได้โปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นกรมหมื่น พระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามจารึกตามพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ สิงหนาม ทรงศักดินา ๑๕,000 ไร่ และในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ พระบรมชนกนาถได้โปรดเกล้าฯ ได้ดำรงตำแหน่ง เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ ในขณะที่ทรงดำรงตำแหน่งต่างๆ ในกองทัพเรือ ได้ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจที่สร้างความเจริญให้กับกองทัพเรือเป็นอย่างมาก โดยประการและสำคัญที่สุด กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงปรับปรุงหลังสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนนายเรือ เนื่องจากทรงปรารถนาที่จะให้กองทัพเรือมีนายทหารที่มีความสามารถมากขึ้น จะได้ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยชาวต่างประเทศอีกต่อไป

ในขณะนั้นผู้ที่เดินเรือได้มีเพียงแต่ชาวตะวันตกเท่านั้น ส่วนพวกอาสาจามที่เดินเรือได้บ้างก็เดินเรือได้เฉพาะแต่ในอ่าวไทยเท่านั้น แม้ว่าในขณะนั้นได้มีการจัดตั้งกรมทหารเรือ และโรงเรียนนายเรือขึ้นแล้วก็ตาม กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์จึงทรงริเริ่มเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนนายเรือแบบใหม่นี้ให้มีวิชาที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานอย่างมาก เช่นวิชาช่างกล แผนที่ ดาราศาสตร์ อุทกศาสตร์ และตรีโกณมิติ ไม่เพียงแต่หลักสูตรเท่านั้น ท่านยังวางระเบียบแบบแผนภายในโรงเรียนนายเรือ คือ ให้นักเรียนที่มีอาวุโสมากกว่าหรือรุ่นพี่ปกครองรุ่นน้องตามชั้นลงมาตามลำดับ ซึ่งพระองค์เองทรงดูแลควบคุมอีกชั้นหนึ่ง ต่อมาทรงเห็นว่าวิชาช่างกลนั้นมีความสำคัญไม่ด้อยไปกว่าวิชาการทหาร ดังนั้นจึงทรงก่อตั้งโรงเรียนนายช่างขึ้น สำหรับเป็นสถานที่สอนวิชาเกี่ยวกับเครื่องกลโดยเฉพาะ อนึ่ง โรงเรียนนายเรือมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒0 พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๔๙ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดด้วยพระองค์เอง ทางกองทัพเรือได้ถือเอาวันที่ ๒0 พฤศจิกายนของทุกปีเป็นวันกองทัพเรือด้วย
กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ได้ดำเนินกิจการของโรงเรียนนายเรือให้มีความเจริญก้าวหน้านับว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อบ้านเมืองอย่างยิ่ง เนื่องจากกิจการทหารเรือในประเทศไทยขณะนั้นยังไม่มีหลักสูตรที่แน่นอนและประสิทธิภาพก็ยังคงอ่อนแออยู่มาก การที่เป้นเช่นนี้ทำให้การป้องกันประเทศไร้ประสิทธิภาพ อีกทั้งในขณะนั้นประเทศในอถบยุโรปก็ทำการล่าอาณานิคมกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะดินแดจในแถบอินโดจีนกำลังเป็นเป้าหมายหลักในเวลานั้น เพราะฉะนั้นกองทัพเรือย่อมมีความสำคัญในการป้องกันประเทศให้รอดพ้นจากการเป็นประเทศอาณานิคมของต่างชาติ
หลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนนายเรือไม่ได้เรียนกันเฉพาะแต่ทฤษฎีเท่านั้น กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ยังทรงเปิดโอกาสให้นักเรียนนายเรือมีโอกสใช้เครื่องมือยุทโธปกรณ์ของจริงอีกด้วย โดยการให้นักเรียนนายเรือได้ออกทะเลเพื่อหาประสบการณ์จริง รวมถึงทรงต้องการแสดงแสนยานุภาพ่ของกองทัพเรือไทยให้ประจักษ์แก่สายตาชาวต่างประเทศ และในปี พ.ศ. ๒๔๕0 กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ได้นำนักเรียนออกปฏิบัติการทางทะเลไกลถึงน่านน้ำประเทศสิงคโปร์ ปัตตาเวีย ขว และฟิลิปปินส์ โดยเรือรบหลวงมกุฎราชกุมาร กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ทรงเป็นผู้บังคับการเรือด้วยพระองค์เอง การนำนักเรียนออกปฏิบัติการครั้งนี้ส่งผลให้นักเรียนนายเรือมีความเข้มแข็ง อดทน และมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่มากขึ้น

ต่อมาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้เปลี่ยนพระยศเป็นพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เพื่อให้เกิดความถูกต้องในการสืบลำดับพระบรมวงศานุวงศ์ ต่อมาโปรดเกล้าฯ สถาปนากรมทหารเรือขึ้นเป็นกระทรวงทหารเรือ ได้มีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเสนาบดี แต่ทรงดำรงตำแหน่งได้เพียงปีเดียวก็ประชวร จึงต้องขอพระราชทานพระบรมราชาณุญาตออกเป็นนายทหารกองหนุน จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๔๖0 จึงกลับเข้ารับราชการทหารอีกครั้งหนึ่งในตำแหน่งจเรทหารเรือ ต่อมาในปีเดียวกันนั้นได้ทรงเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นเสนาธิการทหาร มีพระยศทางทหารเป็นนายพลโท
ในปี พ.ศ. ๒๔๖๓ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์เป็นผู้ที่เดินทางไปจัดซื้อเรือรบที่ประเทศในยุโรป โดยทรงเลือกเรือเรเดียนจากประเทศอังกฤษ และประทานนามเรือลำนี้ว่า พระร่วง จากนั้นได้ทรงเป็นผู้นำเรือเดินทางจากประเทศอังกฤษมาประเทศไทยด้วยพระองค์เอง จึงถือว่ากรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ทรงเป็นนายทหารเรือไทยพระองค์แรกที่บังคับเรือในระยะทางที่ไกลมากเท่านี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บำเหน็จความชอบครั้งนี้โดยการเลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นกรมหลวง มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ สิงหนาม ทรงศักดินา ๑๕,000 ไร่
ในปี พ.ศ. ๒๔๖๕ ตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงทหารเรือว่างลง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยุ่หัวจึงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ดำรงตำแหน่งรักษาการตำแหน่งเสนาบดี ทรงดำรงตำแหน่งนาน ๖ เดือน จนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๖๖ จึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ พร้อมกับเลื่อนพระยศทางทหารเป็น นายพลเอก
นอกจากพระกรณียกจิเกี่ยวกับทหารที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น อีกสิ่งหนึ่งที่ทรงมอบให้กับกองทัพเรือคือ เพลงปลุกใจ เช่น เพลงดอกประดู่ และเพลงเกิดมาทั้งที เป็นต้น การที่ทรงนิพนธ์เพลงเหล่านี้ขึ้นก็ด้วยทรงต้องการให้ทหารเรือทุกนายมีความรู้สึกรักและต้องการปกป้องแผ่นดินไทยให้รอดพ้นจากศัตรูที่เข้ามารุกราน รวมถึงทรงต้องการให้ทหารเรือมีความสามัคคี กล้าหาญ เข้มแข็ง อดทน เด็ดเดี่ยว มีวินัย และรักษเกียรติของตน เพลงที่กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงนิพนธ์ยังคงเป็นเพลงที่ใช้บรรเลงกันอยู่ในกองทัพเรือทุกวันนี้
เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์เข้ามาบริหารกิจการภายในกองทัพเรือ ทำให้กิจการกองทัพเรือมีความเจริญมากขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้เกิดจากพระปรีชาสามาถ และความวิริยะอุตสาหะของกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์โดยแท้ ด้วยเหตุนี้ทรงได้รับพระราชทานตำแหน่งให้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชาการทหารเรือ แต่ทรงดำรงตำแหน่งนี้ได้ไม่นานก็ทรงลาออกจากราชการ เนื่องจากทรงพระประชวรด้วยโรคภายใน แต่ในระหว่างที่ทรงพักรักาตัวก็มิได้ทรงอยู่เฉย แต่ได้ทำคุณประโยชน์ให้กับประชาชนป็นอันมาก คือ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ได้ทรงศึกษาวิชาการแพทย์แผนโบราณจนมีความรู้ความชำนาญ อีกทั้งยังทรงทำการทดลองค้นคว้าหายารักษาโรคชนิดใหม่ และทรงสามารถปรับปรุงยาฉบับเดิมให้มีประสิทธิภาพในการรักษามากขึ้น กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์เป็นผู้ที่มีพระอัธยาศัยดี และมีน้ำใจดีต่อผู้ป่วยที่ขากจนอยู่เสมอ แม้แต่ชื่อของพระองค์ก็โปรดให้ผู้ช่วยเหล่านั้นเรียกพระองค์ว่า “ หมอพร “ ทรงรับรักษาผู้ป่วยโดยไม่คิดค่ารักษาพยาบาลแต่อย่างใด
นอกจากกิจการทหารเรือที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ยังทรงมีพระปรีชาสามารถในด้านอื่นๆ อีกหลายแขนง ได้แก่ ด้านศิลปะ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ทรงเป็นผู้ที่มีฝีมือในด้านนี้มากพระองค์หนึ่ง ภาพฝีพระหัตถ์ที่สวยงามที่ยังคงปรากฎให้เห็นจนทุกวันนี้คือ ภาพผนังโบสถ์ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ. วัดสิงห์ จ. ชัยนาถ เป็นภาพพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า ตอน โปรดปัญจวัคคีย์ นอกจากนี้ยังทรงมีฝีมือในเรื่องของศิลปะการต่อสู้ โดยเฉพาะเรื่องมวย และกระบี่กระบอง กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ไม่เดียงแต่ซ้อมส่วนพระองค์เท่านั้น ยังโปรดให้ทหารเรือทั้งหลายฝึกซ้อมศิลปะการต่อสู้เหล่านี้ด้วยทรงต้องการให้นายทหารเรือได้มีวิชาการต่อสู้ และได้ออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ
หลังจากที่ทรงลาออกจากราชการได้ไม่นานก็ทรงล้มป่วยด้วยโรคไข้หวัดอยู่นาน ๓ วันก็ทรงสิ้นพระชนม์ ณ ที่ประทับ เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ ในขณะที่ทรงมีพระชนมายุเพียง ๔๔ พรรษาเท่านั้น